นายรวม พรหมบุรี เกิดที่บ้านปรก ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี เมื่อวันที่ 1 ก.ค.2455 เป็นบุตรนายเลื่อง นางตี้ พรหมบุรี ปู่ชื่อขำ รับราชการมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงพรหมบุรี ย่าชื่อ พั้ง ตาชื่ออยู่ ยายชื่อกระติก มีพี่น้อง 3 คน คือ พล.ต.ต.เสวก, นายชาญยุทธ และนายพิชัย พรหมบุรี
จบการศึกษชั้น ป.4 จากโรงเรียนวัดช่องลม อ.เมือง จ.ราชบุรี เริ่มเรียนดนตรีไทยเมื่ออายุราว 8 ปี จากสำนักดนตรีไทยวัดช่องลม และต่อมาได้ศึกษาเพิ่มเติมจากหลวงชาญ เชิงระนาด (เงิน ผลารักษ์) และหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) รวมทั้งศึกษาเพิ่มเติมจากปี่พาทย์มอญกับวงดนตรีไทย คณะครูสุ่ม ดนตรีเจริญ ใกล้วัดสระเกศ จนมีความสามารถเฉพาะตัวในการตีระนาดเป็นอย่างดี อายุ 17 ปี ก็ถวายตัวเป็นมหาดเล็กที่วังของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ที่กรุงเทพฯ แล้วย้ายไปอยู่ที่วังลดาวัลย์ จนถึงปี พ.ศ.2481 จึงกลับมาอยู่บ้านเดิมที่ จ.ราชบุรี และประกอบอาชีพดนตรีไทย ในนาม "รวมศิษย์บรรเลง" ตลอดมา
นายรวมอุปสมบทที่วัดช่องลมเป็นเวลา 1 พรรษาและต่อมาได้สมรสกับ นางเพื้อน คงสว่าง มีบุตรธิดา 6 คน คือ
1.นางสุภา สันดุษฎี
2.นางรัตนา คันธวะโร
3.นางองุ่น ครุฑสิงห์
4.ร.ต.ต.ศิริเวช พรหมบุรี
5.นายอุดมศักดิ์ พรหมบุรี
6.นายจิระวุธ พรหมบุรี
นอกจากนั้น นายรวม พรหมบุรี ยังได้สมรสกับ น.ส.แฉล้ม จันทรสวัสดิ์ มีธิดา 1 คน คือ น.ส.อุไร พรหมบุรี
นายรวม พรหมบุรี ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 5 เม.ย.2529 สิริอายุรวม 74 ปี และในวันพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดมหาธาตุวรวิหาร อ.เมือง จ.ราชบุรี ในวันอาทิตย์ที่ 9 พ.ย.2529
นายรวม พรหมบุรี ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 5 เม.ย.2529 สิริอายุรวม 74 ปี และในวันพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดมหาธาตุวรวิหาร อ.เมือง จ.ราชบุรี ในวันอาทิตย์ที่ 9 พ.ย.2529
ความทรงจำบุญยง-บุญยัง เกตุคง "วงการนาฎศิลป์และดนตรีไทยเมื่อประมาณ 30 ปีก่อน เอ่ยชื่อ "พี่รวม พรหมบุรี" รับรองว่าบรรดาศิลปินทั้งในกรุงเทพฯ และแถบจังหวัดใกล้เคียงย่อมรู้จักกันดีทั่วไป เพราะพี่รวมเป็นนักดนตรีที่ทุกคนต่างก็ให้ความเคารพนับถือยกย่องน้ำใจโอบอ้อมอารี ที่ท่านมีต่อคนในวงการนี้มาโดยตลอด"
นายเผือก นักระนาด คนระนาดที่ฝีมือดีที่สุดคนหนึ่งก็ยังเอ่ยปากว่า "ถ้าถูกจับให้เข้าวงปี่พาทย์ตีประชันกับนายรวม เมื่อไรก็หนักใจ เห็นจะต้องระวังให้มาก"
นายเผือก นักระนาด คนระนาดที่ฝีมือดีที่สุดคนหนึ่งก็ยังเอ่ยปากว่า "ถ้าถูกจับให้เข้าวงปี่พาทย์ตีประชันกับนายรวม เมื่อไรก็หนักใจ เห็นจะต้องระวังให้มาก"
นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล "ครั้งหนึ่งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2517 (13-20 พ.ค.) ที่พระราชวังไกลกังวลหัวหิน ขณะรับพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำที่สนามหญ้าข้างพระตำหนักเปี่ยมสุข ครูรวมเอ่ยขึ้นว่า "นานเหลือเกินแล้วไม่ได้เข้าวัง ไม่คิดว่าวันนี้จะได้มาถึงที่นี่" ครูกล่าวพร้อมด้วยรอยยิ้มแห่งความสุข วันนั้นเป็นวันที่กรมศิลปากรโดบอธิบดีสมภพ ภิรมย์ พาวงดนตรีของครูรวมไปเข้าเฝ้าถวายตัวและบรรเลงเพลงถวายที่พระตำหนักเปี่ยมสุข พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลง พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นวันประวัติศาสตร์วันหนึ่งของวงการดนตรีไทย ที่ต้องบันทึกไว้ เพราะนอกจากวงงดนตรีของครูรวมจะได้บรรเลงหน้าพระที่นั่งอย่างใกล้ชิดแล้ว ยังเป็นวันที่ครูเทียบ คงลายทอง ทูลเกล้าถวายปี่ใน แด่พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน"
ในหนังสืออนุสรณ์พระราชทานเพลิงฯ ในคอลัมน์ "ครูรวม พรหมบุรี ระนาดน้ำผึ้งแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง" ได้เขียนไว้เป็นตอนๆ น่าศึกษา ท่านที่สนใจสามารถหาอ่านได้ ดังนี้
-ราชบุรีเป็นบ้านเกิด
-ไปเป็นเด็กวัด แล้วหัดปี่พาทย์
-ประชันปี่พาทย์ตำนานระนาดแห่งเขางู
-สิ้นบุญหลวงปู่ไปอยู่บ้านพระยาวินัยฯ
-จากราชบุรีสู่กรุงเทพฯ
-ศิษย์เอกหลวงชาญฯ ถวายตัวเข้าวัง
-ชีวิตดนตรีไทยในวังบางคอแหลม
-กลับบ้านปรับวงปี่พาทย์
-อยู่วังใหม่ได้กลับคืนบ้าน
-สอนลูกศิษย์เป็นวิทยาทาน
-ไหว้ครูดนตรีไทยยิ่งใหญ่ทุกปี
-รวมศิษย์บรรเลงถวายหน้าพระที่นั่ง
-เพลงบทสุดท้ายบั้นปลายชัวิต
"เวลาล่วงมาจนย่างเข้าปี พ.ศ.2529 ในเดือนมกราคม ครูได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่โครงการดนตรีไทยในพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้เดินทางเข้าเฝ้ากราบทูลถวายความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลดนตรีไทยร่วมกับครูดนตรีท่านอื่นๆ ที่ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ ที่ครูรวมได้รับเป็นครั้งสุดท้ายขณะยังมีชีวิตอยู่ ดูเหมือนว่าความปลื้มปิติที่บังเกิดขึ้นจะช่วยให้สุขภาพร่างกายและจิตใจของครูแจ่มใสขึ้นบ้าง"
เมื่อแล้งเดือนห้าปีนั้น สายน้ำแม่กลองยังคงไหลเอื่อยและแห้งงวดลงกว่าเดิม
ทิวไม้ยืนต้นเรียงรายริมฟากฝั่งต่างสงบนิ่ง ทิ้งใบอย่างเงียบเชียบด้วยสงัดลม
ถัดบ้านท่าเสา จนเหนือคุ้งน้ำวน ก้องกังวานของระนาดเอกมือครู
แว่วเสียงเป็นเพลงโศก และลงเพลงลา ไปแล้วแต่ค่อนดึก
จากหนังสือพิพิธภัณฑสาถนแห่งชาติราชบุรี และจังหวัดราชบุรี (2544 : 267) กล่าวถึง ครูรวมพหรมบุรี ไว้ว่า ท่านนับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเล่นดนตรีไทย โดยเฉพาะระนาดที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ทั้งใน จ.ราชบุรี และ จ.ใกล้เคียง จนได้รับขนานามว่า "ระนาดน้ำผึ้งแห่งลุ่มน้ำมแกลอง" โดยท่านได้หัดเล่นดนตรีไทยตั้งแต่อายุประมาณ 7-8 ปี จากสำนักดนตรีไทยวัดช่องลม ต่อมาได้เรียนและฝึกหัดเพิ่มเติมกับหลวงเชิงระนาด (เงิน ผลารักษ์) และหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) จนมีความสามารถในการตีระนาดเป็นอย่างดี เมื่ออายุได้ 19 ปี ได้เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในวังของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์ที่กรุงเทพมหานคร ครั้งมนปี พ.ศ.2481 จึงได้เดินทางกลับมาอยู่บ้านเดิมที่จังหวัดราชบุรี และตั้งวงปี่พาทย์ในนาม "รวมศิลป์บรรเลง"
..................(2529). อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายรวม พรหมบุรี. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.
จากความที่ท่านมีผีมือในการตีระนาดเป็นเอก จนทำให้อธิบดีกรมศิลปากร(นาวาเอกสมภพ ภิรมณ์ ร.น.) ได้พาวงดนตรีไทยของท่านไปเข้าเฝ้าถวายตัวและบรรเลงเพลงถวายแด่พระยามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข พระราชวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคิรีขันธ์ และปัจจุบันนี้ ก็ยังมีผู้สืบทอดคณะดนตรีไทยในนาม "ศิษย์ครูรวม" อยู่
ที่มา :
..................(2529). อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายรวม พรหมบุรี. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.
มโน กลีบทอง. (2544). พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี และจังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมาพันธ์.
ไม่มีวันไหนไม่คิดถึงตา💕 ครูรวม พรมบุรี❤️👴
ตอบลบ