วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ผู้ชำนาญการด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ของราชบุรี

ข้อมูลนี้แสดงอยู่ในเว็บไซต์ของกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมศิลปากร เป็นข้อมูลที่บันทึกไว้ในหมวดองค์ความรู้ประเภทเครือข่ายของสำนักศิลปากรที่ 1 ซึ่งดูแลพื้นที่ จ.ราชบุรี,เพชรบุรี,ประจวบคิรีขันธ์,สมุทรสงคราม,สมุทรสาคร และสมุทรปราการ

หมายเหตุ : เกี่ยวกับข้อมูลเรื่องอายุของแต่ละท่าน อาจสูงขึ้น เพราะผู้รวบรวมไม่ทราบว่าการบันทึกนี้กระทำขึ้นในปี พ.ศ.ใด (สันนิษฐานว่าอยู่ในช่วงปี พ.ศ.2549-2550)

ผู้ชำนาญการด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ของราชบุรี

นายสุรินทร์ เหลือลมัย
(ดูรายละเอียดเพิ่มเติม)
อายุ 69 ปี
อาชีพ ข้าราชการบำนาญ
ที่อยู่/โทรศัพท์ บ้านเลขที่ 385 หมู่ 3 ต.จอมบึง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี โทร.0-3226-1280
ความชำนาญ/ ความสนใจ สาขาประวัติศาสตร์ โบราณคดี
ผลงาน/ เกียรติคุณ/ รางวัล
  • บทความด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี วิถีวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี ในวารสารเมือโบราณ ( พ.ศ. 2533,2536,2540,2543,2547,2549)
  • วารสารสำนักศิลปะและ วัฒนธรรม (พ.ศ.2541,2542,2544,2546)
  • วารสารคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง (พ.ศ. ต่อเนื่องมาจนถึงปี 2547)
  • บทความท้องถิ่นของเราในหนังสือพิมพ์จอมบึงวันนี้ รายเดือนของมหาวิทยาลัยราชภัฎ หมู่บ้านจอมบึง 
  • สถาปัตยกรรมไทยจังหวัดราชบุรี พ.ศ.2540
  • หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาของจังหวัดราชบุรี พ.ศ. 2544
  • หนังสือ 8 ชาติพันธุ์ในราชบุรี ของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี พ.ศ.2547
  • หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาของจังหวัดราชบุรี
  • สถาปัตยกรรมไทยจังหวัดราชบุรี
  • โล่ประกาศเกียรติคุณผู้อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยตัวอย่าง ปี 2544 จัดโดยหนังสือพิมพ์พัฒนาเศรษฐกิจ
  • ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี สาขานันทนาการและผู้ทำคุณประโยชน์ทางวัฒนธรรม ปี 2544 จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
  • บุคคลตัวอย่าง สาขาผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคม ปี 2545 จัดโดยหนังสือพิมพ์พัฒนาเศรษฐกิจ
****************************************
นายอกนิษฐ์ โพธิ์ทอง
อายุ 57 ปี
อาชีพ ข้าราชการบำนาญ
ที่อยู่/โทรศัพท์ บ้านเลขที่ 78/9 หมู่ 6 ต.บ้านสิงห์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ความชำนาญ/ ความสนใจ สาขาประวัติศาสตร์
ผลงาน/ เกียรติคุณ/ รางวัล  ป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านประวัติศาสตร์ เมื่อ ปี 2537 จึงได้จัดทำหนังสือประวัติลาวเวียงบ้านสิงห์ และเขียนหนังสือไว้อีกหลายเล่ม เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนรุ่นหลัง ได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของลาวเวียงบ้านสิงห์ในปัจจุบัน และได้พยายามที่จะถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังไว้เพื่อเป็นการสืบทอด และอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่นไว้

*******************************************
ที่มาข้อมูล
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมศิลปากร.(2554).ด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์. [Online]. Available :http://www.finearts-psdg.com/n/tabid/180/Default.aspx. [2554 มิถุนาย 17 ].

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น