วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

นายอานันท์ ปันยารชุน ผู้ดีรัตนโกสินทร์..อดีตนายกรัฐมนตรี 2 สมัย

ระยะเวลาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
สมัยที่ 1 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 47 : 2 มีนาคม พ.ศ.2534 – 22 มีนาคม พ.ศ.2535
สมัยที่ 2 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 49 : 10 มิถุนายน พ.ศ.2535 – 22 กันยายน พ.ศ.2535

ประวัติ
นายอานันท์ ปันยารชุน เกิดเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2475 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน 12 คนของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาปรีชานุสาสน์ (เสริญ ปันยารชุน) และ คุณหญิงปรีชานุสาสน์ (ปฤกษ์ โชติกเสถียร) บรรพบุรุษเป็นชาวอำเภอโพธาราม และมีวัดประจำตระกูลปันยารชุนอยู่ ณ จังหวัดราชบุรี คือ วัดเขาช่องพราน

เข้ารับการศึกษาระดับมัธยมที่กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ดัลลิชคอลเลจ ประเทศอังกฤษ และศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้ปริญญา (เกียรตินิยม) สาขากฎหมาย พ.ศ.2498

เข้ารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่พ.ศ.2498 ระหว่างพ.ศ.2502–2507 เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้รับตำแหน่งเลขานุการเอกคณะทูตถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ในพ.ศ.2507

ต่อมาในพ.ศ.2510 ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ และเอกอัครราชทูตประจำประเทศแคนาดา จนถึงพ.ศ.2515 ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นเอกอัครราชทูตประจำสหรัฐอเมริกาและเป็นผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ตั้งแต่ พ.ศ.2515–2518

นายอานันท์ฯ ได้กลับมาดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อพ.ศ.2519 และตำแหน่งสุดท้ายทางราชการคือ เอกอัครราชทูตประจำสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ระหว่างพ.ศ.2520–2521 นายอานันท์ฯ ลาออกจากกระทรวงการต่างประเทศ ในพ.ศ.2522 และเข้าร่วมงานกับกลุ่มบริษัท สหยูเนี่ยน จำกัด

นายอานันท์ฯ ได้ดำรงตำแหน่งอุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมไทย ตั้งแต่พ.ศ.2523 เมื่อสมาคมอุตสาหกรรมไทยยกฐานะขึ้นเป็นสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในปลายพ.ศ.2530 นายอานันท์ฯ ได้รับเลือกตั้งให้เป็นรองประธานสภาฯ และเดือนเมษายน พ.ศ.2533 ได้รับเลือกให้เป็นประธานสภาฯ ดำรงตำแหน่งตามวาระเป็นเวลา 2 ปี

นายอานันท์ฯ ดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีหอการค้าและอุตสาหกรรมอาเซียน ระหว่างพ.ศ.2525–2527 และระหว่างพ.ศ.2525–2526 เป็นประธาน ASEAN Task Force ในเรื่องความร่วมมือของอาเซียน อันประกอบด้วยบุคคล 15 คน จากทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐบาลอาเซียนระหว่างเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2529 ถึง มกราคม พ.ศ.2534 เป็นประธานฝ่ายอาเซียนในคณะมนตรีอาเซียนสหรัฐอเมริกา

นายอานันท์ฯ เป็นกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กรรมการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กรรมการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการสภาที่ปรึกษาสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ กรรมการสภาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย กรรมการสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอ.ไอ.ที) และกรรมการศูนย์การแลกเปลี่ยนทางเทคโนโลยี สหรัฐ – อาเซียน ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2533 ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการ The World Management Council (CLOS) และในเดือน มกราคม พ.ศ.2534 รับเป็นกรรมการ The Business Council for sustainable Development (BCSD)

นายอานันท์ฯ ดำรงตำแหน่งประธานบริษัท สหยูเนี่ยน จำกัด ระหว่างพ.ศ.2528–2533 และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการบริษัท สหยูเนี่ยน จำกัด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2534

วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2534 นายอานันท์ ปันยารชุน ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทยลำดับที่ 18 รัฐบาลซึ่งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีได้สร้างผลงานที่สำคัญไว้หลายประการ คือ การปรับปรุงระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน การปรับปรุงประสิทธิภาพระบบข้าราชการ การริเริ่มที่จะจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน การส่งเสริมตลาดทุน การส่งเสริมการแข่งขันโดยเสรีในอุตสาหกรรมนโยบายการค้าเสรีภายใต้การแข่งขันอย่างเป็นธรรม การนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทนภาษีการค้า การปรับปรุงการสรรพสามิตให้สอดคล้องกับภาษีมูลค่าเพิ่ม การให้เอกชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนารัฐวิสาหกิจมากขึ้น การเป็นเจ้าภาพการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ครั้งที่ 46 ประจำปี 2534 การพัฒนาชนบท การพัฒนาการเกษตร และการปฏิรูปที่ดิน การเร่งรัดโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรศัพท์และโทรคมนาคม การปรับปรุงท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งที่ 2 การดำเนินการขยายโอกาสทางการศึกษา การพัฒนาระบบอุดมศึกษาให้มีความเป็นอิสระและคล่องตัว การแยกรัฐวิสาหกิจออกจากกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาสิ่งแวดล้อม และการสำรวจผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ภารกิจที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2535 โดยได้เริ่มจัดตั้งองค์กรกลางเพื่อสอดส่องดูแลการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรมมากขึ้น

นายอานันท์ ปันยารชุน พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2535 เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2535 และต่อจากนั้นได้รักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จวบจนกระทั่ง พลเอกสุจินดา คราประยูร และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ได้เริ่มปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2535 ต่อมาเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2535 พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ทางการเมือง และเหตุการณ์ไม่สงบภายในประเทศ จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2535 เพื่อแก้ปัญหาบ้านเมือง และบริหารราชการมาจนกระทั่งมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วประเทศในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2535 และพ้นจากตำแหน่งไปตามวาระเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2535 เนื่องจากมีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2535

ในยุคที่มีกระแสความต้องการให้มีการปฏิรูปการเมือง สภาร่างรัฐธรรมนูญได้ก่อกำเนิดขึ้นในปีพ.ศ.2540 อันเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเป็น "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" เป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่สภาร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยบุคคลต่างๆ ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน และประชาชนมีส่วนร่วม ในการออกความคิดเห็น และวิพากษ์วิจารณ์ นายอานันท์มีบทบาทสำคัญ คือ ได้รับเลือกให้เป็น ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และ ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ

ด้วยผลงานด้านต่างๆ ที่นายอานันท์ฯได้ทำมา ทำให้นายอานันท์ฯ ได้รับ รางวัลรามอน แมกไซไซ สาขาบริการรัฐกิจ ในปีพ.ศ.2540 ได้รับการประกาศเกียรติคุณต่างๆ รวมทั้งปริญญากิตติมศักดิ์จากสถาบันศึกษาหลายแห่งทั้งในประเทศและต่างประเทศรวม 20 สถาบัน

นายอานันท์ฯ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญรัตนาภรณ์ (ชั้น 3) มหาวชิรมงกุฎ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ และมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก ทั้งได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากประเทศอิตาลี เกาหลี อินโดนีเซีย เบลเยี่ยม ญี่ปุ่น และในกรณีของอังกฤษนั้น ได้รับ Honorary Knight Commander of the Civil Division of the Most Exellent Order of the British Empire (KBE) ซึ่งถ้าเป็นคนสัญชาติสหราชอาณาจักร ก็จะมีตำแหน่งเป็น Sir

นายอานันท์ฯ สมรสกับ ม.ร.ว. สดศรี จักรพันธุ์ มีบุตรี 2 คน คือ นางนันดา ไกรฤกษ์ และนางดารณี เจริญรัชต์ภาคย์ มีหลาน 3 คน คือ น.ส.ทิพนันท์ จากนางนันดา ซึ่งสมรสกับ นายไกรทิพย์ ไกรฤกษ์ และ ด.ญ.ศิริญดา และ ด.ช.ธนาวิน จากนางดารณี ซึ่งสมรสกับ ดร.ชัชวิน เจริญรัชต์ภาคย์

ด้วยชาติกำเนิด การศึกษา หน้าที่การงาน และพฤติกรรม ทำให้ได้รับฉายา "ผู้ดีรัตนโกสินทร์"




ที่มาข้อมูล
ห้องสมุดออนไลน์ My First Info. บุคคลสำคัญ: อานันท์  ปันยารชุน. [Online]. Available : https://province.myfirstinfo.com/viewnews.asp?newsID=3957. [2553 ธันวาคม 27 ].

ที่มาของภาพ
http://tumtoilet3.tarad.com/product.detail_243377_th_2182912#

http://www.asamedia.org/2010/06/4322/
http://hongsakul.net/law01/th/law_anand01_th.html
อ่านต่อ >>

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ศิษย์เก่า ร.ร.นารีวิทยา

รองศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ เป็นอดีตศิษย์เก่าโรงเรียนนารีวิทยา อ.เมือง จ.ราชบุรี ท่านเรียนอยู่ที่นี่ถึง 6 ปี ท่านเริ่มรับราชการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2514 อยู่ในราชการเกือบ 40 ปี และได้มีประสบการณ์บริหารมหาวิทยาลัยในตำแหน่งต่างๆ อาทิ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ และช่วงปี 2540-2546 ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มศว. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับราชบุรีอีกประการหนึ่ง คือ ท่านเคยมาดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ในวาระสมัยหนึ่งด้วย

จากหนังสือ "45 ปี นารีฯ มุทิตาจิต" ซึ่งจัดพิมพ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2544 ท่านได้เขียนไว้ในสารแสดงความยินดี ความตอนหนึ่งว่า ".....คำสอนที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว ล้วนมีคุณค่า มิใช่เพียงเพื่อทำให้สอบผ่าน หรือเพื่อเอาใจใคร แต่ดิฉันได้อาศัยคำสอนดังกล่าว เป็นพื้นฐานในการศึกษาเล่าเรียน การทำงาน และการดำเนินงาน ตราบจนทุกวันนี้ นับว่าโรงเรียนนารีวิทยา มีคุณูปการ และเป็นผู้วางรากฐานวิถีชีวิตของดิฉันให้ก้าวหน้าไป ดิฉันจึงรำลึกถึงพระคุณของโรงเรียนอยู่เสมอ...."

ท่านเป็นบุคคลสำคัญที่มีผลงานด้านวิชาการและคุณูปการมากมายต่อวงการการศึกษาของประเทศไทย จึงขออนุญาตนำประวัติและผลงานของท่านมาเขียนเผยแพร่ไว้ในบล็อกนี้ เพื่อให้คนรุ่นปัจจุบันได้เอาเป็นแบบอย่างต่อไป

ประวัติส่วนตัว
  • วัน เดือน ปี เกิด 27 มีนาคม พ.ศ.2489
  • สถานภาพสมรส สมรสกับ ดร.สืบแสง พรหมบุญ มีบุตร 3 คน
ประวัติการศึกษา
  • พ.ศ.2499-2504 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 (ป.5-ม.4 ในปัจจุบัน) โรงเรียนนารีวิทยา อ.เมือง จ.ราชบุรี
  • พ.ศ.2505-2507 เตรียมอุดมศึกษา พญาไท รุ่นที่ 25 สายวิทยาศาสตร์
  • พ.ศ.2507-2508 เตรียมแพทยศสาตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจุบันคือคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
  • พ.ศ.2508-2514 B.A. (Zoology), M.S. (Genetics) จาก U. of Wisconsin, Madison, Wis, U.S.A.โดยทุนรัฐบาลไทย ตามความต้องการของกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ส.2519-2522 PH.D (Genetics), Certificate in Population Studies จาก U.of Hawaii, Honolulu, Hi., U.S.A. โดยทุน East West Center
การรับราชการ
  • รับราชการสังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ตั้งแต่ 2514 และพ้นราชการในตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ ระดับ 9
เคยสอน
  • Cytogenetics
  • Human Genetics
  • Population Genetics and Evolution
  • Statistics for Science / Biostatistics
  • General Biology / Genetics
งานวิจัยที่ชำนาญ
  • Statistictical analysis of medical data
  • Theoretical modeling of biological systems relating to malarial resistant genes
  • Genetic Diversity
ประสบการณ์การบริหารในมหาวิทยาลัย
  • พ.ศ.2518-2519 เลขานุการคณะวิทยาศาสตร์ มศว.
  • พ.ศ.2524-2526 ผู้ช่วยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มศว.
  • พ.ศ.2526-2530 คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มศว.
  • พ.ศ.2536-2540 รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มศว.
  • พ.ศ.2540-2546 อธิการบดี มศว.
งานที่ปรึกษา / บริการทางวิชาการ
กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ.2515-2548 ผู้ชำนาญ / ที่ปรึกษาสาขาชีวิทยา สสวท.
  • พ.ศ.2536-2548 กรรมการดำเนินการจัดการแข่งขัยโอลิมปิควิชาการของกระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ.2532-2548 อนุกรรมการคัดเลือกนักเรียน / นิสิต พสวท. ของทบวงมหาวิทยาลัยร่วมกับ สสวท.
  • พ.ศ.2530-2540 ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรมการฝึกหัดครู
  • พ.ศ.2533-2540 ประธานกรรมการตรวจแบบเรียนวิทยาศาสตร์ชีวภาพ กรมวิชาการ
  • พ.ศ.2534 กรรมการศูนย์ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมการฝึกหัดครู
  • พ.ศ.2523-2548 วิทยากรบรรยายพิเศษในวิทยาลัยครู โรงเรียน และหน่วยงานต่างๆ
  • พ.ศ.2534-2548 กรรมการจัดการแข่งขันโอลิมปิคชีววิทยา และการแข่งขันครั้งที่ 6 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
  • พ.ศ.2538 ร่วมริเริ่มโครงการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ที่มีความสามารถพิเศษ สสวท.และทบวงมหาวิทยาลัย ทบวงมหาวิทยาลัย
  • พ.ศ.2527-2538 อนุกรรมการสร้างแบบทดสอบมาตรฐานวิชาชีววิทยา
  • พ.ศ.2530-2535 อนุกรรมการพิจารณาหลักสูตรชีววิทยา
  • พ.ศ.2533-2538 กรรมการพัฒนาวิชาการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
  • พ.ศ.2526-ปัจจุบัน ผู้ตรวจผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยของรัฐหลายแห่ง
  • พ.ศ.2533-ปัจจุบัน อาจารย์พิเศษ / วิทยากรในการสัมมนาทางวิชาการใน มหาวิทยาลัยต่างๆ
  • พ.ศ.2538-ปัจจุบัน อนุกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับหลักสูตร
  • พ.ศ.2538-2539 คณะทำงานนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา
  • พ.ศ.2539 อนุกรรมการพัฒนาระบบการสอบคัดเลือก ระบบใหม่ กรรมการพัฒนาแบบทดสอบและกรรมการกลั่นกรองข้อสอบชีววิทยา
  • พ.ศ.2540 อนุกรรมการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา
  • พ.ศ.2540 ประธานคณะทำงานกำหนดเกณฑ์การพิจารณาผลการเรียนสะสมของนักเรียน ม.ปลาย หรือเทียบเท่า ในการคัดเลือกระบบใหม่
  • พ.ศ.2540-2548 อนุกรรมการพัฒนาระบบกำกับดูแลสถาบันการศึกษาเอกชน
  • พ.ศ.2540-2548 กรรมการสภาวิทยาลัยคริสเตียน ผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัย
  • พ.ศ.2541-2548 รองประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ.2540-2548 กรรมการพัฒนาวิทยาเขตราชบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • พ.ศ.2531-2548 อนุกรรมการความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
  • พ.ศ.2534-2535 กรรมการประเมินความเหมาะสมผู้รับทุนรัฐบาลศึกษาต่อต่างประเทศ ระดับปริญญาโท-เอก
  • พ.ศ.2539-2548 กรรมการโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ ของ สวทช. กับ สกว.สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ
  • พ.ศ.2539 อนุกรรมการอำนวยการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีปัญญาเลิศ และมีความสามารถพิเศษ
  • พ.ศ.2540 ผู้เชี่ยวชาญ โครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน (การเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม)สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมเยาวชนแห่งชาติ
  • พ.ศ.2540 กรรมการแผนพัฒนาเด็กและเยาวชน แผนฯ 8 คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ.2539 ประธานจัดการประชุด 13th Asian Games Scientific Congress ธันวาคม 2541
  • พ.ศ.2540 กรรมการโดยตำแหน่งอธิการบดี ในคณะกรรมการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ที่ศูนย์องครักษ์
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ)
  • พ.ศ.2534-2540 กรรมการออกและตรวจข้อสอบนักเรียนมัธยมปลาย เพื่อรับทุนรัฐบาลศึกษาต่อต่างประเทศ ระดับปริญญาตรี
กระทรวงสาธารณสุข
  • พ.ศ.2541 กรรมการโครงการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรผู้บริหารสาธารณสุข
รัฐสภา
  • พ.ศ.2540 กรรมการสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญใหม่
  • พ.ศ.2541 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
สมาคมวิชาชีพ / มูลนิธิ / ชมรม
  • พ.ศ.2527-2535 กรรมการสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ
  • พ.ศ.2527 กรรมการก่อตั้งสมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย
  • พ.ศ.2523-33 อุปนายกสมาคมฯ
  • พ.ศ.2531-2535 กรรมการสมาคมวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
  • พ.ศ.2531-ปัจจุบัน สมาชิก Sigma Xi Scientific Research Society of North America
  • พ.ศ.2536-ปัจจุบัน สมาชิก New York Academy of Science
  • พ.ศ.2532-2533 ที่ปรึกษาสมาคมเคมี
  • พ.ศ.2532-2538 กรรมการสมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ.2533-2539 กรรมการคัดเลือกผู้รับทุนปริญญาเอก มูลนิธิ PHP ของ Matsushita Electros Co.
  • พ.ศ.2528 ประธานชมรมพุทธธรรม มศว ประสานมิตร และประธานการสร้างหอพระ
มหาวิทยาลัยศรนครินทรวิโรฒ
  • พ.ศ.2534- ปัจจุบัน เลขานุการ / รองประธาน / ประธานมูลนิธิวิทยาศาสตร์ ดร.ปรีชา ประไพ อมาตรยกุล
  • พ.ศ.2534-ปัจจุบัน กรรมการชมรมนักวิทยาศาสตร์ สมาคมสตรีอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ.2534-2538 กรรมการมูลนิธิส่งเสริมเด็กปัญญาเลิศ
  • พ.ศ.2534-2539 ผู้แทนไทยใน Asia-Pacific Federation of the World Council on Giftedness and Talentedness
  • พ.ศง2538-2540 ประธานโครงการนำร่องศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพเด็กและเยาวชนมูลนิธิ
สดศรี-สฤษดิ์วงษ์
  • พ.ศ.2538-2540 กรรมการโครงการส่งเสริมการศึกษาสงฆ์โดยการศึกษาทางไกล บริษัทมติชน จำกัด
ดูงาน / ประชุม / งานที่ปรึกษาต่างประเทศ
  • พ.ศ.2529 ดูงานด้านวิทยาศาสตร์ ณ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
  • พ.ศ.2530 ดูงานด้านวิทยาศาสตร์ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • พ.ศ.2531 ประชุมวิชาการเรื่อง Mathematical Ecology ณ International Centre for Theoretical Physics ประเทศอิตาลี
  • พ.ศ.2533 สังเกตการณ์โอลิมปิคชีววิทยา ณ ประเทศเชรโกสโลวาเกีย
  • พ.ศ.2534, 2535, 2536 นำนักเรียนไปแข่งขันโอลิมปิคชีววิทยา ณ สหภาพโซเวียต, เชคโกสโลวาเกีย, เนเธอร์แลนด์
  • พ.ศ.2538 - ดูงานด้าน Biotechnology ณ มหาวิทยาลัย Osaka และ Tsukuba ประเทศญี่ปุ่น และ ประชุม Second Asian Conference on Giftedness ณ สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
  • พ.ศ.2536-2537 Bioscience Curriculum Specialist ในโครงการ Curriculum Development fo Teacher Education ของ Asian Development Bank ในประเทศลาว ( 5 เดือน)
  • พ.ศ.2537 Science Curriculum Expert ในโครงการ Postsecondary Education Rationalization ของ Asian Development Bank ในประเทศลาว ( 1 เดือน)
  • พ.ศ.2538 ดูงานด้าน Admissions และ Registrar ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ.2538 ร่วมเจรจาความร่วมมือทางวิชาการ โครงการจัดตั้งศูนย์วิชาการกัมพูชา-ไทยศึกษา ณ ประเทศกัมพูชา โดยได้รับงบประมาณจากรัฐบาลไทย ผ่านกรมวิเทศสหการ
  • พ.ศ.2539 ประชุมวิชาการ ครั้งที่ 8 เรื่องการประกันคุณภาพอุดมศึกษา ณ ประเทศออสเตรเลีย
  • พ.ศ.2540 ร่วมไปในคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยไทย 13 แห่ง ศึกษาดูงาน ณ ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย จัดโดย SEAMEO-RIHED
  • พ.ศ.2540 ประชุม/ เจรจาความร่วมมือกับสถาบันในประเทศโรมาเนีย สโลวาเกีย เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา รวม 7 แห่ง
ผลงานทางวิชาการ (คัดเฉพาะที่เผยแพร่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 ถึงปัจจุบัน)
งานวิจัย
  • สุมณฑา พรหมบุญ 2525 “ปัจจัยบางประการที่เกี่ยวข้องกับอัตราตายของทารกแรกเกิดเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตัวอย่างกรุงเทพมหานครกับอุบลราชธานี”สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • นพพร จิตการุณ และ สุมณฑา พรหมบุญ 2525 “ ความถี่ของปัญญาอ่อนในหมู่ญาติของผู้ป่วยปัญญาอ่อนในประเทศไทย” การประชุมวิชาการพันธุศาสตร์ครั้งที่ 3 สมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย
  • Promboon, S,M,P.Mi and K Chaturachinda 1983. “Birthweight Placental weightand gestation time in relation to natural selection in Thailand”Annals of Human Genetics (London)47 (8) : 133-141
  • Promboon, S 1988. “Alpha – thalassemia in relation to malaria in Thailand : a possible theoretical model”, presented in the First Workshop on Mathematical Ecology at the International Center for Theoretical Physics, Trieste, Italy
  • เนาวรัตน์ สุวรรณบุณย์, พรพิมล ม่วงไทย, สุมณฑา พรหมบุญ และสงบ ศรีพระประแดง 2531. “เปรียบเทียบเทคนิค 2 วิธี ในการวิเคราะห์ปริมาณตะกั่วในเลือด” วารสาร กรมการแพทย์ 13 (12 : 751-757.
  • เนาวรัตน์ สุวรรณบุณย์ , สุมณฑา พรหมบุญ และนพวรรณ อิทธิวงศ์ศุภกิจ 2533.“ปริมาณตะกั่วในเลือดของคนงานในโรงงาน 10 แห่ง เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม” วารสารวิทยาศาสตร์ มศว 6 (1) : 21-27.
  • Promboon, S 1991. “Construction of Newborn Indices by Factor Analysis”,Srinakharinwirot Science journal 7 (2) : 5-12.
  • พันธุ์สิน เกตุทัต, นงลักษณ์ สกุลญานนท์วิทยา, วราภรณ์ กิจวิริยะ, อนันต์ พู่พิทยาสถาพร, และสุมณฑา พรหมบุญ 2536 “การวัดความแปรผันทางพันธุกรรมของปูนา Somanniathelphusa dugasti ใน 5 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยด้วยวิธี Starch Gel Electrophoresis” วารสาร วิทยาศาสตร์ มศว 9 (1) : 20-23.
งานแปล แต่งตำรา / บทความ
  • สุมณฑา พรหมบุญ และอนันต์ พู่พิทยาสถาพร 2524 วิวัฒนาการ แปลจาก Moore, R. Evolution. Time Life Series จัดพิมพ์โดย มาร์เก็ตติ้งมีเดีย ประเทศไทย
  • สุมณฑา พรหมบุญ 2530 “ประชากร” ในตำราชีววิทยาของทบวงมหาวิทยาลัย และเป็นบรรณาธิการของตำราทั้งเล่ม
  • สุมณฑา พรหมบุญ 2530 “พันธุ์กับกรรม” ในหนังสือเรื่อง ความรู้ทางพันธุศาสตร์ ของสมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย และเป็นบรรณาธิการของหนังสือ
  • สุมณฑา พรหมบุญ 2532 “ยีนมะเร็ง” ในวารสารวิทยาศาสตร์ มศว 4 (1) : 59-68
  • สุมณฑา พรหมบุญ 2536 “พันธุศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีชีวภาพ” วารสารวิทยาศาสตร์ มศว 9 (1) : 48-52
  • สุมณฑา พรหมบุญ 2535 “ความทันสมัยกับพฤติกรรมวิทยาศาสตร์” วารสารวิทยาศาสตร์ มศว 8 (1) : 52-55
  • Scientific Rescarch Society of Thailand. 1991. Biodiversity in Thailand S. Promboon (ed) Bangkok : Chuan Publishing Co.
  • สุมณฑา พรหมบุญ 2535 พันธุศาสตร์ประชากรกับวิวัฒนาการ (กำลังพิมพ์)
  • Promboon, S 1995. Retionalization and Recommendations for science Curriculum Development and lmplementation Plan-National University.
  • Dong Dok Campus. Report of Post Secondary Education Rationlization Project Lao P.D.R. Volume Four, Asian Development Bank T.A.# 1957 Lao, Serco Education Ltd.
  • สุมณฑา พรหมบุญ 2538 “ชีววิทยากับพันธุศาสตร์” วารสารวิทยาศาสตร์ มศว 11(1) : 61-65.
  • สุมณฑา พรหมบุญ 2539 “วิทยาศาสตร์ที่บริสุทธิ์” วารสารวิทยาศาสตร์ มศว 12(2) : 1-3.
บทความทางด้านการศึกษาที่ประกอบการบรรยาย ระหว่างปี พ.ศ. 2538-2539
  • การส่งเสริมอัจฉริยภาพของเด็กและเยาวชน
  • สถานภาพ ปัญหา และแนวโน้มการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์
  • What Policy is Best for Women in Science in Higher Education?
  • เลี้ยงลูกให้เก่งได้อย่างไร
  • วิธีฝึกคิดแบบ 3 ย
  • สอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาตอนต้นด้วยวิธีธรรมชาติ
  • อัจฉริยภาพ ภาษา และการอ่าน
  • ทฤษฎีและแนวคิดเรื่องการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม
รางวัลที่ได้รับ
  • พ.ศ.2538 ศิษย์เก่าดีเด่น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ.2539 ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาครูวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ที่มาข้อมูล
  • สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2552). รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ. [Online]. Available : http://www.swuaa.com/webnew/index.php?option=com_content&view=article&id=241:2009-03-05-14-34-42&catid=69:2009-03-04-03-13-20&Itemid=61. [2553 พฤศจิกายน 24 ]. (ข้อมูลที่คัดลอกมานี้ แก้ไขปรับปรุงล่าสุดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม 2552 เวลา 14:34 น)
  • โรงเรียนนารีวิทยา. (2544). 45 ปี นารีฯ มุทิตาจิต. กรุงเทพฯ : Starboom Interprint.
อ่านต่อ >>

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

น.อ.ทองย้อย แสงสินชัย ผู้แต่งกาพย์เห่เรือ ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
เกิดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2488
ตรงกับวันพุธ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 7 ปีระกา ที่ตำบลปากไก่ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของ นายอิน นางเหมิด มีพี่น้องรวม 5 คน คือ
  1. ชาย ชื่อ เบิ้ม
  2. ชาย ชื่อ ทองหยิบ
  3. ชาย ชื่อ สมจิตต์
  4. ชาย ชื่อ ทองหยด
  5. ชาย ชื่อ ทองย้อย
เมื่ออายุประมาณ 8 ขวบ ไปอยู่วัดหนองกระทุ่ม อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี กับพี่ชายคนโตซึ่งบวชอยู่ที่นั่น แล้วเข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนวัดหนองกระทุ่ม เรียนจบชั้นประถมปีที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2499

บรรพชา/อุปสมบท
  • พ.ศ. 2504 บรรพชาที่วัดหนองกระทุ่ม โดยมีพระครูขันตยาภิรัต(หลวงพ่อป๋อง) เป็นพระอุปัชฌาย์
  • พ.ศ. 2508 อุปสมบทที่วัดหนองกระทุ่ม โดยมี พระศรีธีรพงศ์(ช้อย ป.ธ.9) วัดมหาธาตุ ราชบุรี เป็นอุปัชฌาย์  พระครูรัตนสุทธิคุณ(พรหม ปหฏฺโฐ) วัดสนามสุทธาวาส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูบวรธรรมสมาจาร(สุชาติ ป.ธ.3) วัดมหาธาตุ ราชบุรี เป็นพระอนุศาสนาจารย์
การศึกษา
  • พ.ศ.2504 สอบนักธรรมชั้นตรีได้ สำนักเรียนวัดหนองกระทุ่ม
  • พ.ศ.2505 สอบนักธรรมชั้นโทได้ สำนักเรียนวัดหนองกระทุ่ม
  • พ.ศ.2506 สอบนักธรรมชั้นเอกได้ สำนักเรียนวัดมหาธาตุ ราชบุรี
  • พ.ศ.2508 สอบประโยค ป.ธ.3 ได้ สำนักเรียนวัดมหาธาตุ ราชบุรี
  • พ.ศ.2509 สอบประโยค ป.ธ.4 ได้ สำนักเรียนวัดมหาธาตุ ราชบุรี
  • พ.ศ.2510 สอบประโยค ป.ธ.5 ได้ สำนักเรียนวัดมหาธาตุ ราชบุรี
  • พ.ศ.2511 สอบประโยค ป.ธ.6 ได้ สำนักเรียนวัดมหาธาตุ ราชบุรี
  • พ.ศ.2512 สอบประโยค ป.ธ.7 ได้ สำนักเรียนวัดมหาธาตุ ราชบุรี
  • พ.ศ.2513 สอบประโยค ป.ธ.8 ได้ สำนักเรียนวัดมหาธาตุ ราชบุรี
  • พ.ศ.2514 สอบประโยค ป.ธ.9 ตก
  • พ.ศ.2515 สอบประโยค ป.ธ.9 ได้ สำนักเรียนวัดมหาธาตุ ราชบุรี
  • พ.ศ.2516 เดินทางไปศึกษาระดับปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยมคธ รัฐวิหาร ประเทศอินเดีย โดยศึกษาสาขาประวัติศาสตร์ หลักสูตร 2 ปี เมื่อเรียนไปได้ปีกว่าๆ ก็เกิดเหตุไม่สงบขึ้นใมหาวิทยาลัย ทางการสั่งให้ปิดการศึกษาโดยไม่มีกำหนดเปิด จึงตัดสินใจเดินทางกลับ (เมื่อกลับมาเมืองไทยได้ราวๆ 2-3 เดือน ก็เปิดการศึกษาได้ตามปกติ แต่ตอนนั้นหมดความตั้งใจที่จะศึกษาต่อเสียแล้ว)
การทำงาน
  • พ.ศ. 2517 ลาสิกขาและเข้าทำงานเป็นนักวิชาการมูลนิธิภูมิพโลภิกขุ วัดสระเกศ กทม.
  • พ.ศ. 2521 เข้ารับราชการเป็นนักภาษาโบราณกองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร
  • พ.ศ. 2524 เข้ารับราชการเป็นอนุศาสนาจารย์กองทัพเรือ
ชีวิตครอบครัว
  • พ.ศ.2518 สมรสกับอาจารย์สุดใจ อินทศิริ อาจารย์วิทยาลัยเทคนิค ราชบุรี
  • พ.ศ.2520 มีลูกสาวชื่อ พรกวินทร์
  • พ.ศ.2523 มีลูกชายชื่อ ศิลปากร
  • พ.ศ.2524 มีลูกชายชื่อ อนุสรนาวี
ผลงานหนังสือ
ได้เขียนกาพย์กลอน รวมทั้งบทความวิชาการต่างๆ ซึ่งรวมเรียกว่า ”ผลงานหนังสือ” ไว้หลายเรื่อง บางเรื่องพิมพ์เผยแพร่แล้ว บางเรื่องยังไม่ได้พิมพ์ มีดังนี้
  1. กลอนนิราศเรื่อง ลำนำลำน้ำแควน้อย
  2. บรรพชาปวัตน์คำกลอน บทกลอนชนะเลิศรางวัลเคนเนดีทางวรรณคดี
  3. สุภาษิตชาดก พิมพ์ครั้งที่ 3 เปลี่ยนชื่อเป็น สุภาษิตชาดก 100 บท พ.ศ.2540
  4. คำทำนายฝันครั้งประวัติศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2540 เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น พุทธทำนายโลก
  5. วิเคราะห์ ว. ชัยภัค กรณีวิเคราะห์พระเทพเวที กรณีโพธิรักษ์
  6. เพลงฉ่อยนำชมเมืองราชบุรี ยังไม่ได้พิมพ์เผยแพร่
  7. พุทธชัยมงคลคาถา(คาถาพาหุง)
  8. โคลงโลกนิติ ฉบับถอดความ
  9. กาพย์เห่เรือ ปีกาญจนาภิเษก พ.ศ.2539 ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดประกวดกาพย์เห่เรือ ได้รับรางวัลชนะเลิศ และได้แต่งเพิ่มเติมอีก 4 บท รวมเป็น 5 บท ใช้เห่เรือในวาระที่กองทัพเรือจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารค เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2539
  10. ประชุมโคลงโลกนิติ ฉบับรวบรวมเรียบเรียงใหม่
  11. ได้รับรางวัลที่ 2 ในการแต่งเพลงวันครูเข้าประกวด ซึ่งคุรุสภาเป็นผู้จัด เมื่อ พ.ศ.2541 ชื่อเพลงเทียนส่องฟ้า (นาวาเอกณัฐ รัชกุล กองดุริยางค์ทหารเรือ แต่งทำนอง)
  12. กาพย์เห่เรือเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2542
  13. ถวายสังฆทานให้ถูกวิธี
  14. ความจริงในมหาปรินิพพานสูตร(กรณีพระมโน)
  15. เปิดหน้ากากธรรมกาย ลากไส้ ดร.เบญจ์
  16. ไขปริศนาปัญหาภิกษุณี
  17. บทกลอน และบทความในนาวิกศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 เป็นต้นมา
  18. บทกลอนอาศิรวาท บทกลอนวันที่ระลึกต่างๆ บทกลอนอวยพร บทกลอนไว้อาลัย ตามที่มีผู้ร้องขอเป็นระยะๆ เป็นจำนวนมาก(ผลงานเหล่านี้ยังไม่ได้รวบรวม)
  19. บทเพลงที่มีผู้ขอให้แต่ง มีทั้งเนื้อเพลงที่นำไปขับร้องเพลงไทยเดิม เนื้อและทำนองเพลงประจำโรงเรียน(เช่น โรงเรียนสัตหีบวิทยาคม, โรงเรียนจ่าพยาบาล) เพลงประจำหน่วยทหาร(เช่น มาร์ชกรมสรรพาวุธทหารเรือ,มาร์ชกรมอู่, มาร์ชกรมทหาราบที่ 3 นย.)
  20. เป็นผู้แต่งกาพย์เห่เรือเอเปค ในโอกาสที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมผู้นำเอเปค(กาพย์เห่เรือที่แต่งในงานนี้มี 2 บท คือ ชมเรือกระบวน และ ชมเมือง)
ตำแหน่งหน้าที่ในกองทัพเรือ
  • ตำแหน่งในกองอนุศาสนาจารย์ ตั้งแต่เข้ารับราชการ เมื่อ พ.ศ.2524 หมุนเวียนหลายตำแหน่ง เช่น อนุศาสนาจารย์แผนกต่างๆ,หัวหน้าแผนกอบรมศีลธรรม,หัวหน้าแผนกวิชาการ เป็นต้น
  • อนุศาสนาจารย์ กองบังคับการ กรมทหารราบที่ 3 รักษาพระองค์ กรมนาวิกโยธิน(ชื่อหน่วยในขณะนั้น) ค่ายจุฬาภรณ์ นราธิวาส ระหว่าง พ.ศ.2529-2533
  • อนุศาสนาจารย์โรงเรียนนายเรือ ระหว่าง พ.ศ.2534-2536
  • อนุศาสนาจารย์อาวุโส กองอนุศาสนาจารย์ ระหว่าง 2540-2542
  • รองผู้อำนวยการ กองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ตั้งแต่ 15 ธันวาคม 2542
  • ผู้อำนวยการ กองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2546
เกียรติคุณ
  • ได้รับการประกาศเกียรติคุณจากอำเภอปากท่อ ให้เป็น “บุคคลเกียรติยศสร้างชื่อเสียงให้อำเภอปากท่อ” ในโอกาสฉลองครบรอบ 100 ปี การก่อตั้งอำเภอปากท่อ พ.ศ.2542
  • ได้รับพระราชทาน รางวัลเสาเสมาธรรมจักร ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประเภทส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนา สาขาการแต่งหนังสือทางพุทธศาสนา ประจำปีพุทธศักราช 2543
  • ได้รับโล่เชิดชูเกียรติคุณจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นศิลปินดีเด่นจังหวัดราชบุรี สาขาวรรณศิลป์ ประจำปีพุทธศักราช 2545
ที่มา
ข้อมูล : ทองย้อย แสงสินชัย. (2552). เผยเบื้องหลังการแต่งกาพย์เห่เรือ ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค. [Online]. Available :http://songs-for-royal-barges-thailand.blogspot.com. [2553 พฤศจิกายน 1 ].
ภาพ : http://songs-for-royal-barges-thailand.blogspot.com/2009/10/blog-post.htm

อ่านเพิ่มเติม เผยเบื้องหลังการแต่งกาพย์เห่เรือ ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
อ่านต่อ >>

วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฺฐายี มหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 16 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 16 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฎฺฐายี) ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 16 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ.2508 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 7 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ.2514 พระชนมายุ 74 พรรษา

พระประวัติ
พระองค์มีพระนามเดิมว่า จวน ประสูติเมื่อปี พ.ศ.2440 ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เมื่อพระชนมายุได้ 10 พรรษา ได้เข้ามาศึกษาชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนวัดคฤหบดี จังหวัดธนบุรี พระชนมายุ 14 พรรษา ได้ไปศึกษาอยู่กับพระมหาสมณวงศ์ (แท่น โสมทัดโต) เจ้าอาวาสวัดมหาสมณาราม (วัดเขาวัง) ที่วัดเขาวัง จังหวัดเพชรบุรี พระชนมายุ 16 พรรษา ได้มาศึกษาพระปริยัติธรรม กับพระอริยมุนี (แจ่ม จตฺคสลฺโล) ที่วัดมกุฏกษัตริยาราม
  • พ.ศ.2457 ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดมกุฏกษัตริยาราม ได้เป็นบรรณาธิการ หนังสือวารสารรายปักษ์สยามวัด ทำให้พระองค์มีความสามารถในการประพันธ์คำประพันธ์ต่างๆ มีโคลง ฉันท์ เป็นต้น
  • พ.ศ.2460 ทรงอุปสมบทเป็นภิกษุ ในปีเดียวกันนี้ทรงสอบได้นักธรรมชั้นตรี และเปรียญธรรม 3 ประโยค
  • พ.ศ.2461 สอบได้นักธรรมชั้นโท
  • พ.ศ.2462,2464 และ 2465 สอบได้เปรียญธรรม 4,5 และ 6 ประโยค ตามลำดับ
  • พ.ศ.2466 สอบได้นักธรรมชั้นเอก
  • พ.ศ.2467,2470 และ 2472 สอบได้เปรียญธรรม 7,8 และ 9 ประโยค ตามลำดับ
พระองค์ได้ประกอบพระกรณียกิจด้านการพระศาสนาเป็นอันมาก พอประมวลได้ดังนี้
  • พ.ศ.2476 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่ พระกิตติสารมุนี
  • พ.ศ.2477 เป็นกรรมการคณะธรรมยุติ
  • พ.ศ.2478 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชเวที เป็นประธานกรรมการบริหาร ในตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลราชบุรี
  • พ.ศ.2479 เป็นกรรมการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ลักษณะปกครองสงฆ์ ฉบับใหม่
  • พ.ศ.2482 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเวที
  • พ.ศ.2485 เป็นสมาชิกสังฆสภา และเป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การเผยแผ่
  • พ.ศ.2486 เป็นผู้รักษาการ ในตำแหน่งสังฆนายก แทนสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดบรมนิวาส
  • พ.ศ.2488 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมปาโมกข์
  • พ.ศ.2489 เป็นผู้สั่งการในตำแหน่งสังฆนายก แทนสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดเทพศิรินทร์ฯ
  • พ.ศ.2490 เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่ พระศาสนโศภณ
  • พ.ศ.2494 เป็นสังฆนายก ครั้งที่ 1
  • พ.ศ.2499 ได้รับโปรดเกล้า ฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
  • พ.ศ.2503 เป็นสังฆนายก ครั้งที่ 2
  • พ.ศ.2505 เป็นผู้บัญชาการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระสังฆราช
  • พ.ศ.2506 เป็นกรรมการเถรสมาคมโดยตำแหน่ง ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถวายพัดยศและเครื่องสมณศักดิ์แด่สมเด็จฯ
ในงานพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสงฆราช (จวน อุฏฺฐายี)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 16 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ครั้นเมื่อถึงวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2508 นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฐายี) ขึ้นเป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 16 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สืบต่อจาก สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทยมหาเถร)

พระกรณียกิจด้านต่างๆ

ด้านการศึกษา ทรงชำนาญในอักษรขอม อักษรพม่า อักษรมอญ และอักษรโรมัญ จากการที่ได้ ตรวจชำระ พระไตรปิฎกบางปกรณ์ตามที่ได้รับมอบ ซึ่งจะต้องสอบทานอักษรไทยกับต้นฉบับอักษรขอม เกี่ยวกับอักษรพม่า และอักษรโรมัน
  • พ.ศ.2470 เป็นกรรมการตรวจบาลีไวยากรณ์ในสนามหลวง
  • พ.ศ.2471 เป็นกรรมการตรวจนักธรรมชั้นโท-เอกในสนามหลวง เป็นกรรมการตรวจบาลี ประโยค 4-5-6
  • พ.ศ.2476 เป็นปีที่เริ่มฟื้นฟูกิจการของมหามงกุฏราชวิทยาลัยในยุคใหม่ ทรงรับหน้าที่เป็นกรรมการและอนุกรรมการหลายคณะ คือ อนุกรรมการตรวจชำระแบบเรียน เช่น นวโกวาท และ พุทธศาสนสุภาษิต กรรมการอำนวยการหนังสือธรรมจักษุ กรรมการ อุปนายกและนายกกรรมการมหามงกุฏราชวิทยาลัย ตลอดมาจนสิ้นพระชนม์
ด้านการต่างประเทศ เสด็จไปดูการพระศาสนาในประเทศลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ อินเดีย เนปาล ลังกา ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม ตามคำเชิญของพุทธบริษัทของประเทศนั้นๆ ทรงไปร่วมงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้แทนสมเด็จพระสังฆราช (วัดเบญจมบพิตร) ไปร่วมประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกที่ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า เมื่อปี พ.ศ.2504


สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี)
งานเผยแผ่พระศาสนา ได้ทรงดำเนินการมาโดยตลอดไปรูปแบบต่าง ๆ พอประมวลได้ดังนี้
  • พ.ศ.2476 ทรงร่วมกับคณะมิตรสหาย ตั้งสมาคมพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรก คือ พุทธสมาคม เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา และส่งเสริมการศึกษา
  • พ.ศ.2477 เป็นพระคณาจารย์เอกทางเทศนา (ธรรมกถึก)
  • พ.ศ.2479 เป็นกรรมการควบคุมการแปลพระไตรปิฎก
  • พ.ศ.2497 เป็นประธานกรรมการจัดรายการแสดงธรรมทางวิทยุในวันธรรมสวนะ
งานพระนิพนธ์
  • พ.ศ.2469 ทรงแปลตติยสมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย เพื่อใช้เป็นตำรา
  • พ.ศ.2482 ทรงแต่ง รตนตฺตยปฺปภาวสิทฺธิคาถา แทน รตนตฺตยปฺปภาวาภิยาจนคาถา และได้ใช้สวดในพระราชพิธีต่อมา
  • ยังมีพระนิพนธ์อีกมากกว่า 100 เรื่อง เช่น มงคลในพุทธศาสนา สาระในตัวคน วิธีต่ออายุให้ยืน การทำใจให้สดชื่นผ่องใส และฉันไม่โกรธเป็นต้น
  • มีพระธรรมเทศนาอีกหลายร้อยเรื่อง ที่สำคัญคือ มงคลวิเศษคาถา ที่แสดงในพระราชพิธีเฉลิม พระชนมพรรษา
พระอวสานกาล
โดยปกติ เจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงมีพระพลานมัยดีตลอดมา ไม่ประชวรถึงกับล้มหมอนนอนเสื่อ แต่มีพยาธิเบียดเบียนเป็นครั้งคราว ต้องเสด็จไปรับการผ่าตัดในโรงพยาบาล 2-3 ครั้ง คือ ผ่าตัดไส้เลื่อน 1 ครั้ง ผ่าตัดโพรงจมูกครั้ง 1 ผ่าตัดกระเพาะ เพื่อตรวจดูว่าเป็นมะเร็งหรือไม่อีกครั้ง 1 ภายหลังการผ่าตัดครั้งสุดท้าย ก็ปรากฏว่าพระสุขภาพเป็นปกติ แต่ทรงรับสั่งว่า รู้สึกว่าความจำเลือนไปบ้าง และทรงปรารภว่า “ไม่รู้ว่าทำกรรมอะไรไว้ จึงถูกผ่าตัดอย่างนี้”

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฐายีมหาเถร) สิ้นพระชนม์โดยอุบัติเหตุ เพราะถูกรถยนต์บรรทุกขนาดเล็กส่วนบุคคล ขับสวนทางมาพุ่งเข้าชนรถยนต์พระประเทียบ ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2514 เวลา 10.05 น.

ที่มา
ห้องสมุดออนไลน์ My First Info. ข้อมูลจังหวัด : สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฺฐายี มหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 16 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ . [Online]. Available :
https://province.myfirstinfo.com/viewnews.asp?newsID=60336&keyword=ราชบุรี. [2553 ตุลาคม 29 ].
อ่านต่อ >>

ศ.ดร.นิพนธ์ ศศิธร

ศ.ดร.นิพนธ์ ศศิธร เป็นคนดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2474 - 18 พฤษภาคม 2552 (เสียชีวิตด้วยโรคชรา) สิริอายุ 78 ปี

ศ.ดร.นิพนธ์ ศศิธร
การศึกษา
  • จบมัธยมศึกษา โรงเรียนโพธาราม ราชบุรี
  • จบปริญญาตรีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่น 3 สอบได้ที่ 1 ของรุ่น
  • จบปริญญาตรีนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • จบปริญญาโทความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากโรงเรียนการทูตเฟลทเชอร์ จากมหาวิทยาลัยทัฟต์
  • จบปริญญาโท-เอกด้านรัฐประศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอินเดียนา สหรัฐอเมริกา
  • ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญา ที่ AUTONOMNUS UNIVERSITY OF GUUNDALUJARO สาธารณรัฐเม็กซิโก (พ.ศ.2530)
  • ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารการศึกษา (3 ธ.ค.2547)
หน้าที่การงาน
  • อาจารย์โท
  • พ.ศ.2510-2516 คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พ.ศ.2522-2526 อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ข้าราชการประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จนถึงพุทธศักราช 2532
ด้านการเมือง
  • เป็น ส.ส.จังหวัดราชบุรี ระหว่าง 26 มกราคม 2518 - 12 มกราคม 2519
  • เป็น ส.ส.จังหวัดราชบุรี ระหว่าง 4 เมษายน 2519 - 6 ตุลาคม 2519
  • เป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ผลงานสำคัญ
  • เริ่มต้นโครงการจัดตั้ง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งได้ประสบปัญหานานาประการ ทั้งการต่อต้านจากแพทยสภา สื่อมวลชน ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยในเวลาต่อมา ท้ายที่สุดคณะแพทยศาสตร์ก็ก่อเกิดขึ้นได้ด้วยอาดูลปีติ
  • กราบบังคมทูลเชิญ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้มาทรงศึกษาระดับปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงจบการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พุทธศักราช 2529
  • โครงการความร่วมมือกับ Illinois State University สหรัฐอเมริกา ส่งคณาจารย์ไปศึกษาต่อปริญญาเอก
  • โครงการแปลหนังสือระดับนานาชาติของ ไทม์-ไลฟ์ บุ๊คชุดวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ร่วมกับบริษัทเอกชน
  • นักโต้วาทีตั้งแต่สมัยยังเป็นนิสิตจุฬาฯ และเมื่อเป็นอาจารย์แล้วก็ยังรับเชิญโต้วาทีอยู่ตลอด
  • อาจารย์รับเชิญ สอนวิชาศิลปะการพูด วาทศิลป์ วาทศาสตร์ เป็นคนต้นๆ ของเมืองไทย นอกจากสอนในมหาวิทยาลัยแล้ว โรงเรียนนายอำเภอ โรงเรียนนายร้อย วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร และสมาคมต่างๆ
พระราชทานเพลิงศพ : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ นายนิพนธ์ ศศิธร ม.ป.ช., ม.ว.ม. ณ เมรุหลวง หน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ.2552 เวลา 17:00 น.

บทกวี : อาลัยรักแด่...ศ.ดร.นิพนธ์ ศศิธร เสาหลักแห่งวงการนักพูดไทย

“ศิษย์นักพูด คารวะ วาทการ กราบอาจารย์ นิพนธ์ ศศิธร…”

คลองดำเนิน ไหลริน ถวิลหา
เหมือนน้ำตา แผ่นดิน ที่รินไหล
ราชบุรี ร้าวราน สะท้านใจ
ศรีนครินทร์ ร่ำไห้ อาลัยลา

โอ้สิ้นแล้ว เสาหลัก นักพูดไทย
ผู้ยิ่งใหญ่ ในผลงาน การศึกษา
ยอดแห่งครู ผู้ประเสริฐ เลิศปัญญา
ผู้ปรารถนา ในธรรม นำสังคม

เพื่อสังคม เป็นธรรม ท่านนำหน้า
การศึกษา คือพลัง ท่านสั่งสม
ท่านพากเพียร เขียนพูด พิสูจน์คม
ชนชื่นชม ศรัทธา วิชาการ


เหมือนจันทร์คล้อย ลอยพราก ไปจากฟ้า
เมื่อชีวา ล่วงลิบ ทิพย์สถาน
แต่แสงแห่ง นฤมิต จิตวิญญาณ
ยังตระการ ส่องสว่าง กลางใจชน

กราบเสาหลัก แห่งวิชา วาทศิลป์
ปราชญ์แผ่นดิน ผู้ยิ่งใหญ่ ในทุกหน
กราบยอดครู ปูชนีย- บุคคล
กราบอาจารย์ นิพนธ์ ศศิธร

ศศิธร ยังจรัส รัศมี
คุณความดี ยังโดดเด่น เป็นอนุสรณ์
กระจ่างงาม นาม “นิพนธ์ ศศิธร”
หอมขจร ไปทั่วทิศ นิจนิรันดร์...

----------------------------

ผู้ประพันธ์ : ดร.อภิชาติ ดำดี นักพูด ศิษย์ ศ.ดร.นิพนธ์ ศศิธร
ว่าที่ สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดกระบี่ ปี 2549
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550
อ่านต่อ >>

วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ


ที่มาของภาพ
http://www.phraprasong.org/
พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ
อุปสมบท ณ วัดโพธาราม จังหวัดราชบุรี

หลังจากการออกพรรษาในปี พ.ศ. 2520  ท่านได้ออกธุดงค์ไปยังที่ต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ รวมทั้งได้รับนิมนต์ไปยังประเทศต่าง ๆ กว่า 20 ประเทศ
  • พ.ศ. 2532 ได้รับแต่งตั้งให้เป็น พระอธิการ
  • พ.ศ. 2534 เป็น พระปลัด
  • พ.ศ. 2537 เป็น พระครูวินัยธร
  • 12 พรรษา ปฏิบัติศาสนกิจให้สหรัฐอเมริกา
  • 8 พรรษา เจ้าอาวาสวัดป่าชิคาโก
  • ปัจจุบัน พำนักอยู่ที่วัดบางปลากด เลขที่ 111 ถนนรังสิต-นครนายก คลอง 14 ตำบลบางปลากด อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก 26120
ท่านเป็นพระธรรมทูตทั้งสายสหรัฐอเมริกาและยุโรป มีผลงานทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรอง ที่ให้ข้อคิด และแนวทางปฏิบัติที่ดีงามในการดำเนินชีวิต ซึ่งได้รับความสนใจ อย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนั้น ท่านยังมีความสนใจในกิจกรรมสำหรับสอนเด็กและโรงเรียนวิถีพุทธอีกด้วย

ผลงานหนังสือ
  • อมตะวลี
  • น้อมสู่ใจ
  • หักหอกเป็นดอกไม้
อ่านเพิ่มเติม http://www.phraprasong.org/
อ่านต่อ >>

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ  อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร

ประวัติ
คุณหญิงไขศรีฯ  เกิดเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2480 ณ จังหวัดราชบุรี  ในครอบครัวบุนปาน  บิดาเป็นครู มารดาเป็นแม่บ้าน พื้นเพทั้งบิดา มารดา เป็นคนอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี  อาชีพครูของบิดาทำให้ต้องโยกย้ายไปท้องถิ่นต่างๆพอสมควร สุดท้ายเกษียณอายุราชการที่ตำแหน่งผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัดพระนคร (กรุงเทพฯ) คุณหญิงไขศรีฯ มีพี่น้องทั้งหมด 7 คน มีน้องชายคนหนึ่งที่สังคมรู้จักกันดี คือ ขรรค์ชัย บุนปาน เจ้าของและผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์มติชน และบริษัทในเครือ

คุณหญิงไขศรีฯ  จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสตรีวิทยา มีผลการเรียนดีเด่นระดับติด 1 ใน 50 คนของประเทศ ได้รับพระราชทานทุนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ผ่านสตรีวิทยาสมาคม ในการศึกษาต่อในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนจบการศึกษา และได้เกียรตินิยมอันดับ ๒ สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2503 แล้วจึงกลับไปทำงานเป็นอาจารย์โรงเรียนสตรีวิทยา แต่เนื่องจากไม่มีตำแหน่งงานทางภาษาฝรั่งเศส จึงต้องสอนวิชาภาษาอังกฤษ โดยขณะนั้นก็ศึกษาต่อปริญญาโท สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย จากนั้นย้ายมาเป็นอาจารย์โรงเรียนช่างศิลป ของกรมศิลปากร จนกระทั่งได้มาสอนภาษาฝรั่งเศส ที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และเจริญก้าหน้าในตำแหน่งการงานที่มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นลำดับ

ครอบครัว
คุณหญิงไขศรี สมรสกับพลเรือเอกกำจัด ศรีอรุณ มีบุตร 3 คน คือ
  1. นายเจนจัด ศรีอรุณ
  2. นายจารึก ศรีอรุณ
  3. นายแพทย์จักรพล ศรีอรุณ
คุณหญิงไขศรี ได้เป็นส่วนหนึ่งของคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งเป็นการสรรหาผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกำกับดูแลด้านต่างๆ หลังเกิดวิกฤตการณ์การเมือง ซึ่งคุณหญิงไขศรีดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งคณะรัฐมนตรีชุดดังกล่าวนี้ ได้รับสมญานามจากสื่อมวลชนว่า "รัฐบาลขิงแก่" อันเนื่องมาจากรัฐมนตรีของคณะรัฐบาลชุดนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่สูงอายุ ซึ่งในขณะรับตำแหน่งคุณหญิงไขศรีมาอายุ 69 ปี

ประวัติการศึกษา
  • พ.ศ. 2503 อักษรศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2505 อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาฝรั่งเศส) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2506 ประกาศนียบัตรด้านการสอนภาษาฝรั่งเศส เป็นภาษาต่างประเทศ (Sorbonne)
  • พ.ศ. 2507 ประกาศนียบัตรด้านอารยธรรมฝรั่งเศส (Sorbonne)
  • พ.ศ. 2507 ประกาศนียบัตรสัทศาสตร์ฝรั่งเศส (Sorbonne)
ประวัติการทำงาน
  • อดีตคณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อดีตคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร 2 สมัย
  • อดีตผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
  • อดีตประธานคณะกรรมการประจำศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
  • อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการบริหารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
  • ศาสตราจารย์ ระดับ 10 ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • นายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร
  • นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร
เครื่องราชอิสริยากรณ์ที่ได้รับ
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาวชิรมงกุฏ
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ)
  • Commandeur des Palmes Acade'miques (จากประเทศฝรั่งเศส)
ที่มา
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ไขศรี ศรีอรุณ. (สืบค้นเมื่อ 7 ต.ค.2553)
อ่านต่อ >>