เกิดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2488
ตรงกับวันพุธ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 7 ปีระกา ที่ตำบลปากไก่ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของ นายอิน นางเหมิด มีพี่น้องรวม 5 คน คือ
- ชาย ชื่อ เบิ้ม
- ชาย ชื่อ ทองหยิบ
- ชาย ชื่อ สมจิตต์
- ชาย ชื่อ ทองหยด
- ชาย ชื่อ ทองย้อย
บรรพชา/อุปสมบท
- พ.ศ. 2504 บรรพชาที่วัดหนองกระทุ่ม โดยมีพระครูขันตยาภิรัต(หลวงพ่อป๋อง) เป็นพระอุปัชฌาย์
- พ.ศ. 2508 อุปสมบทที่วัดหนองกระทุ่ม โดยมี พระศรีธีรพงศ์(ช้อย ป.ธ.9) วัดมหาธาตุ ราชบุรี เป็นอุปัชฌาย์ พระครูรัตนสุทธิคุณ(พรหม ปหฏฺโฐ) วัดสนามสุทธาวาส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูบวรธรรมสมาจาร(สุชาติ ป.ธ.3) วัดมหาธาตุ ราชบุรี เป็นพระอนุศาสนาจารย์
- พ.ศ.2504 สอบนักธรรมชั้นตรีได้ สำนักเรียนวัดหนองกระทุ่ม
- พ.ศ.2505 สอบนักธรรมชั้นโทได้ สำนักเรียนวัดหนองกระทุ่ม
- พ.ศ.2506 สอบนักธรรมชั้นเอกได้ สำนักเรียนวัดมหาธาตุ ราชบุรี
- พ.ศ.2508 สอบประโยค ป.ธ.3 ได้ สำนักเรียนวัดมหาธาตุ ราชบุรี
- พ.ศ.2509 สอบประโยค ป.ธ.4 ได้ สำนักเรียนวัดมหาธาตุ ราชบุรี
- พ.ศ.2510 สอบประโยค ป.ธ.5 ได้ สำนักเรียนวัดมหาธาตุ ราชบุรี
- พ.ศ.2511 สอบประโยค ป.ธ.6 ได้ สำนักเรียนวัดมหาธาตุ ราชบุรี
- พ.ศ.2512 สอบประโยค ป.ธ.7 ได้ สำนักเรียนวัดมหาธาตุ ราชบุรี
- พ.ศ.2513 สอบประโยค ป.ธ.8 ได้ สำนักเรียนวัดมหาธาตุ ราชบุรี
- พ.ศ.2514 สอบประโยค ป.ธ.9 ตก
- พ.ศ.2515 สอบประโยค ป.ธ.9 ได้ สำนักเรียนวัดมหาธาตุ ราชบุรี
- พ.ศ.2516 เดินทางไปศึกษาระดับปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยมคธ รัฐวิหาร ประเทศอินเดีย โดยศึกษาสาขาประวัติศาสตร์ หลักสูตร 2 ปี เมื่อเรียนไปได้ปีกว่าๆ ก็เกิดเหตุไม่สงบขึ้นใมหาวิทยาลัย ทางการสั่งให้ปิดการศึกษาโดยไม่มีกำหนดเปิด จึงตัดสินใจเดินทางกลับ (เมื่อกลับมาเมืองไทยได้ราวๆ 2-3 เดือน ก็เปิดการศึกษาได้ตามปกติ แต่ตอนนั้นหมดความตั้งใจที่จะศึกษาต่อเสียแล้ว)
- พ.ศ. 2517 ลาสิกขาและเข้าทำงานเป็นนักวิชาการมูลนิธิภูมิพโลภิกขุ วัดสระเกศ กทม.
- พ.ศ. 2521 เข้ารับราชการเป็นนักภาษาโบราณกองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร
- พ.ศ. 2524 เข้ารับราชการเป็นอนุศาสนาจารย์กองทัพเรือ
- พ.ศ.2518 สมรสกับอาจารย์สุดใจ อินทศิริ อาจารย์วิทยาลัยเทคนิค ราชบุรี
- พ.ศ.2520 มีลูกสาวชื่อ พรกวินทร์
- พ.ศ.2523 มีลูกชายชื่อ ศิลปากร
- พ.ศ.2524 มีลูกชายชื่อ อนุสรนาวี
ได้เขียนกาพย์กลอน รวมทั้งบทความวิชาการต่างๆ ซึ่งรวมเรียกว่า ”ผลงานหนังสือ” ไว้หลายเรื่อง บางเรื่องพิมพ์เผยแพร่แล้ว บางเรื่องยังไม่ได้พิมพ์ มีดังนี้
- กลอนนิราศเรื่อง ลำนำลำน้ำแควน้อย
- บรรพชาปวัตน์คำกลอน บทกลอนชนะเลิศรางวัลเคนเนดีทางวรรณคดี
- สุภาษิตชาดก พิมพ์ครั้งที่ 3 เปลี่ยนชื่อเป็น สุภาษิตชาดก 100 บท พ.ศ.2540
- คำทำนายฝันครั้งประวัติศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2540 เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น พุทธทำนายโลก
- วิเคราะห์ ว. ชัยภัค กรณีวิเคราะห์พระเทพเวที กรณีโพธิรักษ์
- เพลงฉ่อยนำชมเมืองราชบุรี ยังไม่ได้พิมพ์เผยแพร่
- พุทธชัยมงคลคาถา(คาถาพาหุง)
- โคลงโลกนิติ ฉบับถอดความ
- กาพย์เห่เรือ ปีกาญจนาภิเษก พ.ศ.2539 ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดประกวดกาพย์เห่เรือ ได้รับรางวัลชนะเลิศ และได้แต่งเพิ่มเติมอีก 4 บท รวมเป็น 5 บท ใช้เห่เรือในวาระที่กองทัพเรือจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารค เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2539
- ประชุมโคลงโลกนิติ ฉบับรวบรวมเรียบเรียงใหม่
- ได้รับรางวัลที่ 2 ในการแต่งเพลงวันครูเข้าประกวด ซึ่งคุรุสภาเป็นผู้จัด เมื่อ พ.ศ.2541 ชื่อเพลงเทียนส่องฟ้า (นาวาเอกณัฐ รัชกุล กองดุริยางค์ทหารเรือ แต่งทำนอง)
- กาพย์เห่เรือเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2542
- ถวายสังฆทานให้ถูกวิธี
- ความจริงในมหาปรินิพพานสูตร(กรณีพระมโน)
- เปิดหน้ากากธรรมกาย ลากไส้ ดร.เบญจ์
- ไขปริศนาปัญหาภิกษุณี
- บทกลอน และบทความในนาวิกศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 เป็นต้นมา
- บทกลอนอาศิรวาท บทกลอนวันที่ระลึกต่างๆ บทกลอนอวยพร บทกลอนไว้อาลัย ตามที่มีผู้ร้องขอเป็นระยะๆ เป็นจำนวนมาก(ผลงานเหล่านี้ยังไม่ได้รวบรวม)
- บทเพลงที่มีผู้ขอให้แต่ง มีทั้งเนื้อเพลงที่นำไปขับร้องเพลงไทยเดิม เนื้อและทำนองเพลงประจำโรงเรียน(เช่น โรงเรียนสัตหีบวิทยาคม, โรงเรียนจ่าพยาบาล) เพลงประจำหน่วยทหาร(เช่น มาร์ชกรมสรรพาวุธทหารเรือ,มาร์ชกรมอู่, มาร์ชกรมทหาราบที่ 3 นย.)
- เป็นผู้แต่งกาพย์เห่เรือเอเปค ในโอกาสที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมผู้นำเอเปค(กาพย์เห่เรือที่แต่งในงานนี้มี 2 บท คือ ชมเรือกระบวน และ ชมเมือง)
- ตำแหน่งในกองอนุศาสนาจารย์ ตั้งแต่เข้ารับราชการ เมื่อ พ.ศ.2524 หมุนเวียนหลายตำแหน่ง เช่น อนุศาสนาจารย์แผนกต่างๆ,หัวหน้าแผนกอบรมศีลธรรม,หัวหน้าแผนกวิชาการ เป็นต้น
- อนุศาสนาจารย์ กองบังคับการ กรมทหารราบที่ 3 รักษาพระองค์ กรมนาวิกโยธิน(ชื่อหน่วยในขณะนั้น) ค่ายจุฬาภรณ์ นราธิวาส ระหว่าง พ.ศ.2529-2533
- อนุศาสนาจารย์โรงเรียนนายเรือ ระหว่าง พ.ศ.2534-2536
- อนุศาสนาจารย์อาวุโส กองอนุศาสนาจารย์ ระหว่าง 2540-2542
- รองผู้อำนวยการ กองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ตั้งแต่ 15 ธันวาคม 2542
- ผู้อำนวยการ กองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2546
- ได้รับการประกาศเกียรติคุณจากอำเภอปากท่อ ให้เป็น “บุคคลเกียรติยศสร้างชื่อเสียงให้อำเภอปากท่อ” ในโอกาสฉลองครบรอบ 100 ปี การก่อตั้งอำเภอปากท่อ พ.ศ.2542
- ได้รับพระราชทาน รางวัลเสาเสมาธรรมจักร ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประเภทส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนา สาขาการแต่งหนังสือทางพุทธศาสนา ประจำปีพุทธศักราช 2543
- ได้รับโล่เชิดชูเกียรติคุณจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นศิลปินดีเด่นจังหวัดราชบุรี สาขาวรรณศิลป์ ประจำปีพุทธศักราช 2545
ข้อมูล : ทองย้อย แสงสินชัย. (2552). เผยเบื้องหลังการแต่งกาพย์เห่เรือ ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค. [Online]. Available :http://songs-for-royal-barges-thailand.blogspot.com. [2553 พฤศจิกายน 1 ].
ภาพ : http://songs-for-royal-barges-thailand.blogspot.com/2009/10/blog-post.htm
อ่านเพิ่มเติม เผยเบื้องหลังการแต่งกาพย์เห่เรือ ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น