วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ร.1 และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค)

1. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้เคยรับราชการที่ราชบุรีในตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี ได้รับมอบหมายให้เป็นแม่ทัพรบกับพม่าที่บ้านนางแก้ว โดยยกทัพไปตั้งมั่นอยู่ที่เหนือวัดเขาพระและล้อมบ้านนางแก้วร่วมกับเจ้าพระยาสุรสีห์ ซึ่งยกทัพไปตั้งล้อมพม่า ณ ค่ายเขาชะงุ้ม ผลของสงครามครั้งนี้ได้ชัยชนะพม่าแตกพ่ายและจับเชลยเป็นจำนวนมากในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 2328 พระเจ้า ปดุง กษัตริย์พม่ายกทัพมาตีไทย เรียกว่าศึก 9 ทัพ สามารถชนะกองทัพพม่าได้ในครั้งนี้ ได้รบกับพม่าในจังหวัดราชบุรีที่ทุ่งเขางู พ.ศ. 2347 โปรดเกล้าให้กรมหลวงเทพหริรักษ์ พระยายมราช นายทัพไทยไปตีเมืองเชียงแสน และได้กวาดต้อนผู้คนมาอยู่จังหวัดราชบุรี น่าจะอยู่ที่ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรีจะเห็นได้ว่าเมืองราชบุรีมีความสัมพันธ์กับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตั้งแต่ก่อนเสวยราชสมบัติจนกระทั่งครองราชสมบัติแล้ว ชาวราชบุรีรู้สึกภูมิใจและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงร่วมกันสร้างพระบรมราชานุสรณ์ไว้ ณ เชิงเขาแก่นจันทน์

2. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค)
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นบุตรของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) กับท่าผู้หญิงจันกรณียกิจที่สำคัญของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ต่อประเทศชาติ สำหรับกรณียกิจที่สำคัญกับจังหวัดราชบุรี มีดังนี้
1. พ.ศ.2410 ได้มาที่จังหวัดราชบุรี สร้างทำเนียบและตึกรามไว้หลายหลัง ต่อมาใช้เป็นศาลว่าการมณฑลราชบุรี ศาลาจังหวัดราชบุรี สโมสรวัฒนธรรมราชบุรี
2. เป็นผู้อำนวยการขุดคลองดำเนินสะดวก เชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำท่าจีน โดยใช้พระราชทรัพย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเงิน 400 ชั่ง และเงินส่วนตัวของท่านเป็นเงิน 1,000 ชั่ง ทำให้มีการติดต่อไปมาทางเรือระหว่างจังหวัดราชบุรี สมุทรสงคราม กับกรุงเทพมหานคร สะดวก รวดเร็ว และมีการสร้างวัดริมคลองดำเนินสะดวก ชื่อว่า วัดปราสาทสิทธิ์ อยู่ในตำบลดอนไผ่ ปัจจุบัน
3. สร้างถนนหลังเมือง และถนนเขาวังในเขตตัวเมืองราชบุรี ซึ่งต่อมาถนนเขาวังเรียกชื่อว่า ถนนศรีสุริยวงศ์
4. สร้างพระราชวังบนเขาวังราชบุรี พ.ศ.2413 เพื่อเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เวลาเสด็จประพาส เดิมบนเขาวังเป็นที่ตั้งของวัด ชื่อ วัดเขาสัตนารถ เมื่อสร้างพระราชวังจึงย้ายวัดสัตนารถไปอยู่ที่วัดโพธิ์งาม ต่อมามิได้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงเปลี่ยนเป็นวัดชื่อว่าวัดเขาวัง ตามสถานที่ที่เคยเป็นวังมาก่อน

2 ความคิดเห็น:

  1. .....รูปที่ ๒

    คือ พระยาวจีสัตยารักษ์ เจ้าเมืองไชยา

    ไม่ใช่ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค) ครับ ~*

    ^__^

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณมากครับ ข้อมูลผิดเดี๋ยวจะรีบแก้ไขในทันทีครับ

    ตอบลบ