วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

นายศรีราชา บัวเบา ครู จ.ราชบุรี เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2561 สาขาที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้คัดเลือกเกษตรกร สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ ที่มีผลงานดีเด่น เพื่อยกย่องประกาศเกียรติคุณ และเผยแพร่ผลงานให้สาธารณชนทั่วไปได้รู้จัก ยึดถือเป็นแบบอย่างในแนวทางการปฏิบัติงานด้านการเกษตรแห่งชาติต่อไป



นายศรีราชา บัวเบา ครู จ.ราชบุรี  (ซ้าย)
เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2561
สาขาที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกร
โดยในปี พ.ศ.2561 นี้ มีเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดีเด่น ที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารับพระราชทานโล่รางวัล จากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร  ในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี พ.ศ. 2561 เมื่อวันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม 2561 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ 
  1. เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 16 สาขาอาชีพ 
  2. สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 11 กลุ่ม
  3. สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 7 สหกรณ์ และ
  4. ปราชญ์เกษตรแห่งแผ่นดิน จำนวน 3 สาขา 
เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2561 แยกเป็น 16 สาขาอาชีพ ดังนี้ 
  1. อาชีพทำนา ได้แก่ นายชัชวาลย์ ท้าวมะลิ จ.อุดรธานี
  2. อาชีพทำสวน ได้แก่ นายธีรภัทร อุ่นใจ จ.จันทบุรี 
  3. อาชีพทำไร่ ได้แก่ นางทองแดง แดนดี จ.บุรีรัมย์ 
  4. อาชีพไร่นาสวนผสม ได้แก่ นายใจ สุวรรณกิจ จ.พัทลุง 
  5. อาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ได้แก่ นางกุลกนก เพชรเลิศ จ.บุรีรัมย์ 
  6. อาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ นายมูฮำมัดกาแมล เจะมะ จ.นราธิวาส 
  7. อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ได้แก่ นายอดิศัย ว่องไวไพโรจน์ จ.กาญจนบุรี 
  8. อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย ได้แก่ นายวศิน ธนภิรมณ์ จ.ปัตตานี
  9. อาชีพเพาะเลี้ยงปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ ได้แก่ นายสิทธิธรรม เรืองจรุงพงศ์ จ.กรุงเทพมหานคร 
  10. อาชีพปลูกสวนป่า ได้แก่ นางธวัลรัตน์ คำกลาง จ.นครราชสีมา
  11. สาขาบัญชีฟาร์ม ได้แก่ พจท.เฉลียว น้อยแสง จ.ชัยนาท 
  12. สาขาการพัฒนาที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้แก่ นายสัญญา หิรัญวดี จ.ภูเก็ต 
  13. สาขาการใช้วิชาการเกษตรดีที่เหมาะสม ได้แก่ นายบุญมี นามวงศ์ จ.ชัยภูมิ 
  14. ที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ นายศรีราชา บัวเบา จ.ราชบุรี 
  15. สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ นายศุภวิชญ์ บำรุงรัตน์ จ.จันทบุรี 
  16. สาขาเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ นายสฤษดิ์ โชติช่วง จ.สุราษฎร์ธานี
สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2561 แยกเป็น 11 กลุ่ม ดังนี้ 
  1. กลุ่มเกษตรกรทำสวน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านควนสามโพธิ์ จ.พัทลุง 
  2. กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ประดู่หางดำทุ่งช้าง จ.น่าน 
  3. กลุ่มเกษตรกรทำประมง หรือกลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นตำบลหาดเล็ก จ.ตราด
  4. กลุ่มเกษตรกรแปรรูปสัตว์น้ำ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแปรรูปถนอมอาหาร จ.แพร่ 
  5. กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองเหรียง จ.พัทลุง 
  6. กลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนเพียงหลวง 12 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี จ.อุบลราชธานี 
  7. กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านท่าไม้ จ.นครสวรรค์
  8. สถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทาน ได้แก่ กลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทาน ท่ายางบ้านลาดพัฒนา จ.เพชรบุรี
  9. ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภทข้าวหอมมะลิ ได้แก่ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลเมยวดี จ.ร้อยเอ็ด 
  10. ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภทข้าวอื่น ๆ ได้แก่ ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนพัฒนาบ้านบึงประดู่ จ.พิจิตร 
  11. วิสาหกิจชุมชน ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว จ.ตราด
สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2561 จำนวน 7 สหกรณ์ ดังนี้  
  1. สหกรณ์การเกษตร ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรขามสะแกแสง จำกัด จ.นครราชสีมา 
  2. สหกรณ์โคนม ได้แก่ สหกรณ์โคนมไทย – เดนมาร์ค (ลำพญากลาง) จำกัด จ.สระบุรี
  3. สหกรณ์นิคม ได้แก่ สหกรณ์นิคมคลองสวนหมาก จำกัด จ.กำแพงเพชร 
  4. สหกรณ์ผู้ผลิตยางพารา ได้แก่ สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านเสม็ดจวนพัฒนา จำกัด จ.นครศรีธรรมราช
  5. สหกรณ์ออมทรัพย์ ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จำกัด จ.กาฬสินธุ์ 
  6. สหกรณ์ร้านค้า ได้แก่ ร้านสหกรณ์โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จำกัด จ.สุราษฎร์ธานี 
  7. สหกรณ์บริการ ได้แก่ สหกรณ์สี่ล้อเล็กภูเก็ต จำกัด จ.ภูเก็ต
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2561 จำนวน 3 สาขา ดังนี้
  1. สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ นายสุธรรม จันทร์อ่อน 
  2. สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ได้แก่ นายเสถียร มาเจริญรุ่งเรือง  
  3. สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ได้แก่ นายกฤตกร แซ่เอี๊ยบ

ที่มาของภาพ
https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1464841469

นายศรีราชา บัวเบา
นายศรีราชา บัวเบา มีอาชีพเป็นครู ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ  โรงเรียนบ้านห้วยยาง ต.เขาขลุง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี  ได้ริเริ่มพัฒนาพื้นที่ 2 ไร่จาก 6 ไร่ของโรงเรียนฯ จนกลายเป็นแปลงเกษตรที่น่าสนใจ ทั้งพริกสด ผักชี น้ำเต้า และอีกสารพัดผักสวนครัว ที่ให้ดอกออกผลให้เก็บกินกัน และต่อมาได้ขยายผลโดยขอใช้พื้นที่ว่างปล่าวด้านหลังโรงเรียนอีก 40 ไร่ ทำการเกษตรอย่างหลากหลาย อาทิ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ยูคาลิปตัส พืชสมุนไพร ฟักข้าว กล้วย เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดนกยูง ปลาดุก  ไก่ และผักสวนครัวอีกหลากหลายชนิด ผลผลิตเหล่านี้ ล้วนเกิดขึ้นจากน้ำมือของเด็กวัยประถมศึกษาของโรงเรียน ที่เรียกตัวเองว่า "กลุ่มยุวเกษตรกร รร.บ้านห้วยยาง" ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2543 ภายใต้การแนะนำของครูศรีราชา บัวเบา 

"เดี๋ยวนี้ เด็กๆ ไม่ค่อยทำอาชีพการเกษตร เพราะเป็นอาชีพที่เหน็ดเหนื่อย แต่ถ้าเราหานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ มา ทำแล้วได้ตังค์ หรือว่าทำแล้วมันสบายอกสบายใจ ไม่ต้องไปเป็นลูกจ้างเขา ก็น่าจะเป็นแบบอย่างให้เด็กนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ ผมเลยเริ่มฝึกเด็กๆ ที่มีใจรักด้านการเกษตรตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา" 

ครูศรีราชา บัวเบา ถือได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกการทำเกษตรในโรงเรียนบ้านห้วยยาง และริเริ่มโครงการยุวเกษตรกร ของโรงเรียนแห่งนี้  สวนเกษตรของโรงเรียนเริ่มเกิดขึ้นราวปี พ.ศ.2522 จาก ความสงสารเด็กนักเรียนที่ห่อข้าวมากินมื้อกลางวัน ซึ่งเด็กนักเรียนแต่ละคนมีฐานะความเป็นอยู่ไม่เท่ากัน บางรายพอมีก็มีกับข้าวมาก พอเหลือแบ่งเพื่อนได้ บางรายมีน้อยถึงไม่มี ก็ขอแบ่งกับข้าวจากเพื่อน หรืออดบ้างตามอัตภาพ จึงเริ่มปรับพื้นที่ด้านหลังโรงเรียนสำหรับปลูกกล้วย และเพาะเห็ดฟาง


ที่มาของภาพ
https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1464841469


ที่มาของภาพ
https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1464841469

ปัจจุบันมีนักเรียนที่เข้าโครงการยุวเกษตรกร จำนวนประมาณ 30 คน เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นความสมัครใจของนักเรียนเอง นักเรียนที่เข้าโครงการยุวเกษตรกรทุกคน จะเรียนรู้การทำสวน ทำไร่ และทำนาจริงในทุกขั้นตอน 

ครูศรีราชาฯ บอกว่า
"การให้นักเรียนลงมือทำเองทุกขั้นตอน แม้จะเป็นเรื่องยาก แต่จะทำให้นักเรียนได้สัมผัส และรู้วิธีการปฏิบัติจริง เมื่อเกิดปัญหาในขั้นตอนใด นักเรียนจะเรียนรู้การแก้ปัญหาจากประสบการณ์ของตนเอง" 

การแบ่งความรับผิดชอบของยุวเกษตรกร นอกเหนือจากการใช้วิชาเรียนในชั่วโมงการงานพื้นฐานอาชีพแล้ว ในช่วงเช้าและเย็นของทุกวัน นักเรียนจะลงแปลง รดน้ำ พรวนดิน หรือให้ปุ๋ย ด้วยตัวเอง


ที่มาของภาพ
https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1464841469

ท่านใดสนใจศึกษาแนวคิดหรือศึกษาการทำโครงการยุวเกษตรแบบโรงเรียนบ้านห้วยยาง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์ศรีราชา บัวเบา ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านห้วยยาง ต.เขาขลุง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี



ที่มา
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2561).กระทรวงเกษตรฯ เปิดตัวเกษตรกร สถาบันเกษตรกร สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ และปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน เตรียมเข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี พ.ศ. 2561. [Online]. Available :https://www.moac.go.th/news-preview-401191791967. [2561 พฤษภาคม 15].
  • ข่าวสด. (2559). เกษตรผสมผสานกลางไร่ ของโรงเรียนบ้านห้วยยาง ราชบุรี. [Online]. Available :https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1464841469. [2561 พฤษภาคม 15].
  • เกษตรก้าวไกล ไปด้วยกัน. (2559).เป็นเด็กก็ทำเกษตรได้” ตามรอยยุวเกษตรกรรุ่นจิ๋ว หัวใจแจ๋ว โรงเรียนบ้านห้วยยาง. [Online]. Available  :https://youtu.be/XMnQDRbVZlw. [2561 พฤษภาคม 15].
อ่านต่อ >>