กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้คัดเลือกเกษตรกร สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ ที่มีผลงานดีเด่น เพื่อยกย่องประกาศเกียรติคุณ และเผยแพร่ผลงานให้สาธารณชนทั่วไปได้รู้จัก ยึดถือเป็นแบบอย่างในแนวทางการปฏิบัติงานด้านการเกษตรแห่งชาติต่อไป
นายศรีราชา บัวเบา ครู จ.ราชบุรี (ซ้าย) เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2561 สาขาที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกร |
- เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 16 สาขาอาชีพ
- สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 11 กลุ่ม
- สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 7 สหกรณ์ และ
- ปราชญ์เกษตรแห่งแผ่นดิน จำนวน 3 สาขา
- อาชีพทำนา ได้แก่ นายชัชวาลย์ ท้าวมะลิ จ.อุดรธานี
- อาชีพทำสวน ได้แก่ นายธีรภัทร อุ่นใจ จ.จันทบุรี
- อาชีพทำไร่ ได้แก่ นางทองแดง แดนดี จ.บุรีรัมย์
- อาชีพไร่นาสวนผสม ได้แก่ นายใจ สุวรรณกิจ จ.พัทลุง
- อาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ได้แก่ นางกุลกนก เพชรเลิศ จ.บุรีรัมย์
- อาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ นายมูฮำมัดกาแมล เจะมะ จ.นราธิวาส
- อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ได้แก่ นายอดิศัย ว่องไวไพโรจน์ จ.กาญจนบุรี
- อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย ได้แก่ นายวศิน ธนภิรมณ์ จ.ปัตตานี
- อาชีพเพาะเลี้ยงปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ ได้แก่ นายสิทธิธรรม เรืองจรุงพงศ์ จ.กรุงเทพมหานคร
- อาชีพปลูกสวนป่า ได้แก่ นางธวัลรัตน์ คำกลาง จ.นครราชสีมา
- สาขาบัญชีฟาร์ม ได้แก่ พจท.เฉลียว น้อยแสง จ.ชัยนาท
- สาขาการพัฒนาที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้แก่ นายสัญญา หิรัญวดี จ.ภูเก็ต
- สาขาการใช้วิชาการเกษตรดีที่เหมาะสม ได้แก่ นายบุญมี นามวงศ์ จ.ชัยภูมิ
- ที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ นายศรีราชา บัวเบา จ.ราชบุรี
- สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ นายศุภวิชญ์ บำรุงรัตน์ จ.จันทบุรี
- สาขาเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ นายสฤษดิ์ โชติช่วง จ.สุราษฎร์ธานี
- กลุ่มเกษตรกรทำสวน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านควนสามโพธิ์ จ.พัทลุง
- กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ประดู่หางดำทุ่งช้าง จ.น่าน
- กลุ่มเกษตรกรทำประมง หรือกลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นตำบลหาดเล็ก จ.ตราด
- กลุ่มเกษตรกรแปรรูปสัตว์น้ำ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแปรรูปถนอมอาหาร จ.แพร่
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองเหรียง จ.พัทลุง
- กลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนเพียงหลวง 12 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี จ.อุบลราชธานี
- กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านท่าไม้ จ.นครสวรรค์
- สถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทาน ได้แก่ กลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทาน ท่ายางบ้านลาดพัฒนา จ.เพชรบุรี
- ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภทข้าวหอมมะลิ ได้แก่ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลเมยวดี จ.ร้อยเอ็ด
- ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภทข้าวอื่น ๆ ได้แก่ ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนพัฒนาบ้านบึงประดู่ จ.พิจิตร
- วิสาหกิจชุมชน ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว จ.ตราด
- สหกรณ์การเกษตร ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรขามสะแกแสง จำกัด จ.นครราชสีมา
- สหกรณ์โคนม ได้แก่ สหกรณ์โคนมไทย – เดนมาร์ค (ลำพญากลาง) จำกัด จ.สระบุรี
- สหกรณ์นิคม ได้แก่ สหกรณ์นิคมคลองสวนหมาก จำกัด จ.กำแพงเพชร
- สหกรณ์ผู้ผลิตยางพารา ได้แก่ สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านเสม็ดจวนพัฒนา จำกัด จ.นครศรีธรรมราช
- สหกรณ์ออมทรัพย์ ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จำกัด จ.กาฬสินธุ์
- สหกรณ์ร้านค้า ได้แก่ ร้านสหกรณ์โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จำกัด จ.สุราษฎร์ธานี
- สหกรณ์บริการ ได้แก่ สหกรณ์สี่ล้อเล็กภูเก็ต จำกัด จ.ภูเก็ต
- สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ นายสุธรรม จันทร์อ่อน
- สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ได้แก่ นายเสถียร มาเจริญรุ่งเรือง
- สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ได้แก่ นายกฤตกร แซ่เอี๊ยบ
ที่มาของภาพ https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1464841469 |
นายศรีราชา บัวเบา
นายศรีราชา บัวเบา มีอาชีพเป็นครู ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านห้วยยาง ต.เขาขลุง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ได้ริเริ่มพัฒนาพื้นที่ 2 ไร่จาก 6 ไร่ของโรงเรียนฯ จนกลายเป็นแปลงเกษตรที่น่าสนใจ ทั้งพริกสด ผักชี น้ำเต้า และอีกสารพัดผักสวนครัว ที่ให้ดอกออกผลให้เก็บกินกัน และต่อมาได้ขยายผลโดยขอใช้พื้นที่ว่างปล่าวด้านหลังโรงเรียนอีก 40 ไร่ ทำการเกษตรอย่างหลากหลาย อาทิ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ยูคาลิปตัส พืชสมุนไพร ฟักข้าว กล้วย เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดนกยูง ปลาดุก ไก่ และผักสวนครัวอีกหลากหลายชนิด ผลผลิตเหล่านี้ ล้วนเกิดขึ้นจากน้ำมือของเด็กวัยประถมศึกษาของโรงเรียน ที่เรียกตัวเองว่า "กลุ่มยุวเกษตรกร รร.บ้านห้วยยาง" ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2543 ภายใต้การแนะนำของครูศรีราชา บัวเบา
นายศรีราชา บัวเบา มีอาชีพเป็นครู ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านห้วยยาง ต.เขาขลุง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ได้ริเริ่มพัฒนาพื้นที่ 2 ไร่จาก 6 ไร่ของโรงเรียนฯ จนกลายเป็นแปลงเกษตรที่น่าสนใจ ทั้งพริกสด ผักชี น้ำเต้า และอีกสารพัดผักสวนครัว ที่ให้ดอกออกผลให้เก็บกินกัน และต่อมาได้ขยายผลโดยขอใช้พื้นที่ว่างปล่าวด้านหลังโรงเรียนอีก 40 ไร่ ทำการเกษตรอย่างหลากหลาย อาทิ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ยูคาลิปตัส พืชสมุนไพร ฟักข้าว กล้วย เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดนกยูง ปลาดุก ไก่ และผักสวนครัวอีกหลากหลายชนิด ผลผลิตเหล่านี้ ล้วนเกิดขึ้นจากน้ำมือของเด็กวัยประถมศึกษาของโรงเรียน ที่เรียกตัวเองว่า "กลุ่มยุวเกษตรกร รร.บ้านห้วยยาง" ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2543 ภายใต้การแนะนำของครูศรีราชา บัวเบา
"เดี๋ยวนี้ เด็กๆ ไม่ค่อยทำอาชีพการเกษตร เพราะเป็นอาชีพที่เหน็ดเหนื่อย แต่ถ้าเราหานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ มา ทำแล้วได้ตังค์ หรือว่าทำแล้วมันสบายอกสบายใจ ไม่ต้องไปเป็นลูกจ้างเขา ก็น่าจะเป็นแบบอย่างให้เด็กนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ ผมเลยเริ่มฝึกเด็กๆ ที่มีใจรักด้านการเกษตรตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา"
ครูศรีราชา บัวเบา ถือได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกการทำเกษตรในโรงเรียนบ้านห้วยยาง และริเริ่มโครงการยุวเกษตรกร ของโรงเรียนแห่งนี้ สวนเกษตรของโรงเรียนเริ่มเกิดขึ้นราวปี พ.ศ.2522 จาก ความสงสารเด็กนักเรียนที่ห่อข้าวมากินมื้อกลางวัน ซึ่งเด็กนักเรียนแต่ละคนมีฐานะความเป็นอยู่ไม่เท่ากัน บางรายพอมีก็มีกับข้าวมาก พอเหลือแบ่งเพื่อนได้ บางรายมีน้อยถึงไม่มี ก็ขอแบ่งกับข้าวจากเพื่อน หรืออดบ้างตามอัตภาพ จึงเริ่มปรับพื้นที่ด้านหลังโรงเรียนสำหรับปลูกกล้วย และเพาะเห็ดฟาง
ที่มาของภาพ https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1464841469 |
ที่มาของภาพ https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1464841469 |
ปัจจุบันมีนักเรียนที่เข้าโครงการยุวเกษตรกร จำนวนประมาณ 30 คน เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นความสมัครใจของนักเรียนเอง นักเรียนที่เข้าโครงการยุวเกษตรกรทุกคน จะเรียนรู้การทำสวน ทำไร่ และทำนาจริงในทุกขั้นตอน
ครูศรีราชาฯ บอกว่า
"การให้นักเรียนลงมือทำเองทุกขั้นตอน แม้จะเป็นเรื่องยาก แต่จะทำให้นักเรียนได้สัมผัส และรู้วิธีการปฏิบัติจริง เมื่อเกิดปัญหาในขั้นตอนใด นักเรียนจะเรียนรู้การแก้ปัญหาจากประสบการณ์ของตนเอง"
การแบ่งความรับผิดชอบของยุวเกษตรกร นอกเหนือจากการใช้วิชาเรียนในชั่วโมงการงานพื้นฐานอาชีพแล้ว ในช่วงเช้าและเย็นของทุกวัน นักเรียนจะลงแปลง รดน้ำ พรวนดิน หรือให้ปุ๋ย ด้วยตัวเอง
ที่มาของภาพ https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1464841469 |
ท่านใดสนใจศึกษาแนวคิดหรือศึกษาการทำโครงการยุวเกษตรแบบโรงเรียนบ้านห้วยยาง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์ศรีราชา บัวเบา ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านห้วยยาง ต.เขาขลุง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
ที่มา
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2561).กระทรวงเกษตรฯ เปิดตัวเกษตรกร สถาบันเกษตรกร สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ และปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน เตรียมเข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี พ.ศ. 2561. [Online]. Available :https://www.moac.go.th/news-preview-401191791967. [2561 พฤษภาคม 15].
- ข่าวสด. (2559). เกษตรผสมผสานกลางไร่ ของโรงเรียนบ้านห้วยยาง ราชบุรี. [Online]. Available :https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1464841469. [2561 พฤษภาคม 15].
- เกษตรก้าวไกล ไปด้วยกัน. (2559).เป็นเด็กก็ทำเกษตรได้” ตามรอยยุวเกษตรกรรุ่นจิ๋ว หัวใจแจ๋ว โรงเรียนบ้านห้วยยาง. [Online]. Available :https://youtu.be/XMnQDRbVZlw. [2561 พฤษภาคม 15].