วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ผู้ชำนาญการด้านโบราณวัตถุของราชบุรี

ข้อมูลนี้แสดงอยู่ในเว็บไซต์ของกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมศิลปากร เป็นข้อมูลที่บันทึกไว้ในหมวดองค์ความรู้ประเภทเครือข่ายของสำนักศิลปากรที่ 1 ซึ่งดูแลพื้นที่ จ.ราชบุรี,เพชรบุรี,ประจวบคิรีขันธ์,สมุทรสงคราม,สมุทรสาคร และสมุทรปราการ

หมายเหตุ : เกี่ยวกับข้อมูลเรื่องอายุของแต่ละท่าน อาจสูงขึ้น เพราะผู้รวบรวมไม่ทราบว่าการบันทึกนี้กระทำขึ้นในปี พ.ศ.ใด (สันนิษฐานว่าอยู่ในช่วงปี พ.ศ.2549-2550)

ผู้ชำนาญการด้านโบราณวัตถุของราชบุรี

พระมหาผ่อง ผลิตตธมฺโม
อายุ 73 ปี
อาชีพ พระภิกษุ (เจ้าอาวาสวัดเกาะนัมมทาปทวลัญชาราม)
ที่อยู่/โทรศัพท์ วัดเกาะนัมมทาปทวลัญชาราม ถ.มนตรีสุริยวงศ์ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี โทร.0-3233-7128
ความชำนาญ/ ความสนใจ สาขาอนุรักษ์โบราณวัตถุ
ผลงาน/ เกียรติคุณ/ รางวัล
  • เป็นพระนักอนุรักษ์ได้อุทิศตนให้กับงานอนุรักษ์และศึกษาโบราณคดีจากลุ่มแม่น้ำแม่กลอง เพื่อให้ชาวราชบุรีรุ่นใหม่ได้ตระหนักถึงคุณค่าของโบราณวัตถุ แล้วร่วมมือกันอนุรักษ์ไว้สืบไป ภายในกุฏิและภายนอกกุฏิมีเครื่องปั้นดินเผา ทั้งเผาเคลือบ เผาแกร่งและดินเผาธรรมดาซึ่งเป็นของเก่าที่ผลิตในประเทศไทยและที่มาจากเมืองจีน
  • เป็นพระนักโบราณคดีที่อุทิศตนให้กับงานอนุรักษ์และศึกษาโบราณคดีจากลุ่มแม่น้ำแม่กลอง เริ่มสะสมอย่างจริงจัง ตั้งแต่ ปี 2518 ขณะเดียวกันท่านได้มอบสิ่งของบางชิ้นให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี และโรงเรียนใหญ่ๆ ในจังหวัดราชบุรี
  • โบราณวัตถุที่ท่านรวบรวมไว้ ล้วนเป็นหลักฐานว่าเมืองราชบุรีเป็นเมืองที่สืบเนื่องมาจากเมืองคูบัวที่มีมาแต่สมัยทวารวดี ในท้องน้ำแม่กลองได้พบเครื่องถ้วยของจีน มีตั้งแต่ของก่อนสมัยราชวงศ์ถังลงมาถึงสมัยห้าราชวงศ์ สมัยซ้อง สมัยหยวน สมัยหมิง และสมัยชิง และสมัยหยวนและสมัยซ้องพบของมากกว่า สะท้อนให้เห็นว่าเมืองราชบุรีระยะนั้นเริ่มขยายตัวทางเศรษฐกิจ สังคม และเป็นเมืองท่า ในพุทธศตวรรษที่ 18-19
  • ผู้สนใจมาเยี่ยมชมวัดเสมอ สิ่งของที่น่าสนใจได้แก่ ภาชนะสำริดวัฒนธรรมดองซอนที่มีลวดลายนกบินทวนเข็มนาฬิการูปคน หม้อก้นกลมคอสูงปากบานสมัยทวารวดี สังข์สำริดสมัยลพบุรี เป็นต้น
***************************************
นายประสาท อรรถกรศิริโพธิ์
อายุ 74 ปี
อาชีพ ข้าราชการครูบำนาญ
ที่อยู่/โทรศัพท์ บ้านเลขที่ 428 หมู่ 3 บ้านตลาดบ้านกลาง ต.จอมบึง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี  โทร.0-3236-2241
ผลงาน/ เกียรติคุณ/ รางวัล สะสมโบราณวัตถุ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในท้องถิ่นอำเภอจอมบึง โดยการออกสำรวจและค้นหาด้วยตัวเอง ได้รับโบราณวัตถุ จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ในโรงเรียนที่เคยบริหาร และจัดมอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง และโรงเรียนที่สนใจ

*******************************************
พระมหาประกอบ โชติปุญโญ
อายุ 43 ปี
อาชีพ พระภิกษุ (เจ้าอาวาสวัดโชติทายการาม)
ที่อยู่ /โทรศัพท์ วัดโชติทายการาม ต.ดำเนินสะดวก อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
ความชำนาญ / ความสนใจ ด้านพิพิธภัณฑ์
ผลงาน / เกียรติคุณ / รางวัล พระมหาประกอบ โชติปุญโญ พระปริยัตินิเทศก์ประจำจังหวัดราชบุรี ท่านได้สืบทอดเจตนารมณ์จากเจ้าอาวาสองค์ก่อน ในด้านการศึกษาของวัด โดยทำการเปิดสอนและจัดตั้งทุนการศึกษาสำหรับเด็กที่เรียนดีแต่ยากจน สำหรับด้านการพัฒนาวัด ได้ทำการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์วัดโชติทายการาม ลักษณะอาคารแบบคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทยประยุกต์ สองชั้น มีมุขหน้าหลัง ชั้นล่างเป็นที่รวบรวมข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ชั้นบนเป็นที่เก็บรวบรวมของสมัยเก่า มีห้องพระเก่า แต่ละชุดแบ่งออกเป็นสัดส่วน เป็นหมวดหมู่ สะดวกแก่ผู้ที่เข้ามาชม และควรค่าแก่การศึกษาอย่างยิ่ง สำหรับนักเรียน นักศึกษา เยาวชนและประชาชนโดยทั่วไป

***************************************
พระสุชิน ฐิตธมฺโม
อายุ 55 ปี
อาชีพ พระสงฆ์
ที่อยู่/โทรศัพท์ สำนักสงฆ์บ่อหวี หมู่ ๔ ต.ตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
ความชำนาญ/ ความสนใจ อนุรักษ์โบราณวัตถุ
ผลงาน/ เกียรติคุณ/ รางวัล พระสุชิน ฐิตธมฺโม ผู้ดูแลสำนักสงฆ์บ่อหวี ท่านสนใจเก็บ รวบรวมวัตถุโบราณซึ่งชาวบ้านนำมาถวายมานานแล้ว วัตถุโบราณที่เก็บรักษามีทั้งเครื่องมือ เครื่องใช้ในยุคหิน ยุคสำริด ยุคเหล็ก เครื่องเคลือบดินเผาทุกประเภท ตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์ ตลอดจนเครื่องมือของชาวบ้านที่มีเทคนิควิทยา
  • เป็นผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน บริเวณสำนักสงฆ์บ่อหวี 
  • เป็นผู้รณรงค์ให้มีการสืบสานวัฒนธรรม จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชน เพื่อให้เด็ก เยาวชน ประชาชน ตระหนักถึงคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรม
*****************************************
พระสมศรี ขนติสาโร
อายุ 60 ปี
อาชีพ พระภิกษุ
ที่อยู่/โทรศัพท์ วัดสระตะโก ต.หนองปลาหมอ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70110
ความชำนาญ/ ความสนใจ ด้านพิพิธภัณฑ์

****************************************
นายวัลลภ อุมัษเฐียร
อายุ 51 ปี
อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว
ที่อยู่/โทรศัพท์ บ้านเลขที่ 94 หมู่ 1 ต.ตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี โทร.0-3222-1189
ความชำนาญ/ ความสนใจ อนุรักษ์โบราณวัตถุ
ผลงาน/ เกียรติคุณ/ รางวัล นายวัลลภ อุมัษเฐียร เจ้าของพิพิธภัณฑ์ภโวทัย สนใจเก็บรวบรวมวัตถุโบราณสืบทอดมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ โบราณวัตถุที่เก็บรักษามีทั้งเครื่องมือ เครื่องใช้ในยุคหิน ยุคสำริด ยุคเหล็ก เครื่องเคลือบดินเผาทุกประเภท

*****************************************
พระอธิการนุชิต วชิราวุฑโฒ
อายุ 42 ปี
อาชีพ พระภิกษุ (เจ้าอาวาสวัดขนอน)
ที่อยู่/โทรศัพท์ วัดขนอน หมู่ ๔ ต.สร้อยฟ้า อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 70120 โทร.0-3223-3386,0-1753-1230,0-3235-4272
ผลงาน/ เกียรติคุณ/ รางวัล  เป็นผู้บริหารหรือผู้รับผิดชอบดูแลประสานงานพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอน โดยพิพิธภัณฑ์ หนังใหญ่วัดขนอน ได้เริ่มก่อตั้งเมื่อ ปี 2539 เปิดบริการให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08:00-17:00 น. เรื่องราวและสิ่งที่นำเสนอในพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับเป็นการจัดนิทรรศการถาวร แสดงตัวหนังใหญ่ที่มีอายุกว่า 100 ปี สร้างโดยพระครูศรัทธาสุนทร(หลวงปู่กล่อม) ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงของไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมีคำบรรยายเป็นตัวอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ตัวหนังใหญ่แต่ละตัว และมีเทปการบรรยายเปิดในระหว่างที่มีผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ มีบุคลากรรับผิดชอบดูแลในพิพิธภัณฑ์ โดยสามารถสอบถามข้อมูลเบื้องต้นได้ มีแผ่นพับอธิบายความเป็นมาโดยย่อประกอบการชม  มีการแสดงหนังใหญ่สาธิตให้แก่นักท่องเที่ยวได้ชม ในทุกวันเสาร์ เวลา 10:00-11:00 น. และยังจัดให้มีการแสดงสาธิตเป็นกรณีพิเศษเมื่อมีหน่วยงานหรือกลุ่มนักท่องเที่ยวได้ติดต่อเข้ามา มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับการแกะสลักหนังใหญ่ ทางพิพิธภัณฑ์ได้ให้ความร่วมมือกับทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ส่วนราชการในจังหวัดหรือหน่วยงานอื่นๆ ตามที่ได้ขอความร่วมมือเข้ามาโดยตลอด

****************************************
นางสอางค์ พรหมอินทร์
อายุ 70 ปี
ที่อยู่/โทรศัพท์ บ้านเลขที่ 99 หมู่ 5 ต.บ้านม่วง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70110 โทร.0-3237-2392,0-9885-8817
ความชำนาญ/ ความสนใจ ด้านพิพิธภัณฑ์
ผลงาน/เกียรติคุณ/รางวัล
  • ดูแลพิพิธภัณฑ์บ้านม่วง ต.บ้านม่วง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
  • ประธานพิพิธภัณฑ์บ้านม่วง ต.บ้านม่วง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
  • สอนการอ่านและเขียน ภาษามอญ ในโรงเรียน
  • สอนทอผ้าโสร่งของบ้านม่วง
**************************************
ที่มาข้อมูล
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมศิลปากร.(2554).ด้านโบราณวัตถุ. [Online]. Available :http://www.finearts-psdg.com/n/tabid/145/Default.aspx. [2554 มิถุนาย 18 ].

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น